Monday, December 18, 2006

การอนุรักษ์ปะการัง

การอนุรักษ์ปะการัง








ปะการัง
โครงการอนุรักษ์ปะการัง ซึ่งถือได้ว่าเป็นผืนป่าแห่งท้องทะเลที่เป็นระบบนิเวศน์พื้นฐานที่สำคัญยิ่ง สำหรับสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ดังนั้นจังหวัดตรังจึงได้ทำการประชาสัมพันธ์แนวทางคุ้มครองปะการัง ให้กับประชาชนผู้อาศัยอยู่กับท้องน้ำทะเลกว้าง ตลอดจนนักท่องเที่ยว ให้ตระหนักถึงคุณค่าของปะการังและกลวิธีจะปกปักรักษาให้แนวปะการังเติบโต
การอนุรักษ์ปะการัง
ปะการังเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เปราะบาง และต้องใช้เวลายาวนานในการเติบโตที่เรียกว่า แนวปะการัง เป็นโครงสร้างหินปูน (โพลิป) ซึ่งเปรียบเสมือนกำแพงธรรมชาติ บรรเทาคลื่นลมกระแสน้ำ โครงสร้างปะการังถูกกัดกร่อนด้วยกระแสคลื่นพัดเข้าสู่ฝั่ง เป็นเม็ดทรายที่ขาวสะอาดให้กับชายหาด ในปริมาณ 1 ตัน/ไร่ 1 ปี นอกจากนี้บริเวณดังกล่าวยังเป็นที่อาศัยของสัตว์ทะเลนานชนิดดังนั้นการอนุรักษ์ปะการัง เพื่อธำรงรักษาสภาพแวดล้อม โดยความร่วมมือร่วมใจของประชาชน ภาครัฐบาล เอกชนและองค์การต่าง ๆ ดังนี้
1.สงวนคุ้มครองแนวปะการังที่ยังไม่ถูกทำลาย โดยประกาศเขตคุ้มครอง
2.ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้มีความตระหนักถึงคุณประโยชน์ปะการัง
3.มาตรการการจัดการที่เหมาะสม เช่นการออกกฎหมายเพิ่มโทษแก่ผู้ทำลายปะการัง การจัดฝึกอบรมและสัมมนาการจัดแทรกหลักสูตรการศึกษา
4.การติดตั้งทุ่นผูกเรือ เพื่อมิให้มีการทอดสมอเรือในแนวปะการัง
5.ลดการใช้ประโยชน์แนวปะการังให้น้อยที่สุดเช่น การจับสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ปลาสวยงาม การเก็บปะการัง การยืนและเดินบนปะการังของนักดำน้ำ ฯลฯ
6.รักษาสมดุลและระบบนิเวศน์ชายฝั่งทะเลให้เอื้ออำนวยต่อการอาศัยและเติบโตแพร่พันธุ์ของปะการัง
7.สร้างความตระหนักและจิตสำนึกให้เห็นความสำคัญ คุณค่าและคุณประโยชน์ปะการังที่มีต่อมวลมนุษย์ โดยงดการทิ้งของเสียและสิ่งปฏิกูลลงสู่ทะเลโดยตรง
8.กระตุ้นการประสานความร่วมมือของทุกคนทุกฝ่ายอย่างใกล้ชิดเพื่อฟื้นฟูและรักษาแนวปะการัง ให้มีความงดงามตามธรรมชาติ
จะเห็นได้ว่า ปะการังมีคุณประโยชน์แก่มนุษย์พืชและสัตว์ทะเลอย่างมหาศาล ก่อให้เกิดสีสัน ความสวยงามซึ่งธรรมชาติสร้างสรรค์ใหอย่างวิจิตรงดงามเป็นแหล่งที่ให้ความเพลิดเพลิน และเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำทะเลที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนานาชนิดนับเป็นแหล่งธรรมชาติที่ทุก ๆ คนจักต้องตระหนักถึงความสำคัญ และให้ความร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ ให้เป็นชลสมบัติ ที่สามารถให้ผลผลิตที่ยั่งยืนต่อเนื่องตลอดไป


มาตราการอนุรักษ์

กรมประมงได้กำหนดมาตราการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำดังต่อไปนี้
•ผู้ฝ่าฝืนทำการประมงปะการัง หรือหินปะการังทุกชนิด ทุกขนาดไม่ว่าวิธีใด ๆ ในทะเล หรืออ่าวในท้องที่จังหวัดชายทะเลทุกจังหวัด มีความผิดต้องโทษปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ผี หรือทั้งปรับทั้งจำ
•ผู้ฝ่าฝืนทำการประมงดำน้ำโดยใช้อวนล้อมทุกชนิดทุกขนาด หรือลักษณะคล้ายกัน โดยวางบนพื้นทะเลแล้วดำน้ำ เดินเหยียบย่ำบนแนวปะการังเพื่อไล่ต้อนปลาเข้าอวน มีความผิดต้องโทษปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
•ผู้ฝ่าฝืนทำการประมงโดยใช้กระแสไฟฟ้า วัตถุระเบิด สารเคมี ยาเบื่อเมามีความผิดต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท และริบของกลางทั้งสิ้น
•ผู้ฝ่าฝืนส่งปะการัง ซากส่วนหนึ่งส่วนใด ผลิตภัณฑ์จากปะการังและปลาสวนงามออกนอกประเทศ มีความผิดต้องโทษปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้า จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำและริบของกลางรวมทั้งสิ่งที่บรรจุและพาหนะใดๆ ที่ใช้ในการบรรทุกสินค้าซึ่งเกี่ยวเนื่องด้วยความผิด
•ผู้ฝ่าฝืนมีหินปะการัง กัลปังหา เต่าทะเล กระและผลิตภัณฑ์ไว้ในครอบครองเพื่อการค้า มีความผิดต้องโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
•ผู้ฝ่าฝืนทำการประมงใจเขตรักษาพืชพันธ์ มีความผิดต้องโทษปรับ 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ







เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง...
http://www.lib.ru.ac.th/trang/trangtravel/pakarung.html

Wednesday, December 13, 2006

การอนุรักษ์ป่าชายเลน

การอนุรักษ์ป่าชายเลน


โดยที่ป่าชายเลน เป็นทรัพยากรที่สำคัญ และให้ประโยชน์ทั้งในด้านป่าไม้ ประมง และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ป่าชายเลนได้ถูกทำลายลงด้วยกิจกรรมต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องหาแนวทางในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าชายเลนให้ได้ผลเต็มที่ตลอดไป และในขณะเดียวกันก็ไม่เป็นการทำลายระบบนิเวศด้วย หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ การจัดการทรัพยากรป่าชายเลนเพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ยั่งยืนต่อไป การอนุรักษ์ป่าชายเลน ได้แก่
1. การรักษาพื้นที่ป่าชายเลนที่มีอยู่ให้คงไว้ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร และจะต้องช่วยกันหลาย ๆ ฝ่าย ลำพังกรมป่าไม้แต่เพียงหน่วยงานเดียว ย่อมทำได้ยาก การป้องกันอย่างจริงจัง รวมทั้งการจัดการวางแผนการใช้ที่ดินชายฝั่งทะเลให้เหมาะสม จะเป็นทางหนึ่งที่จะรักษาพื้นที่ป่าชายเลนไว้ได้ นอกจากนี้กฏระเบียบต่าง ๆ ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการใช้พื้นที่ป่าชายเลนควรจะใช้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
2. การเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน โดยการปลูกป่า ปัจจุบันกรมป่าไม้มีนโยบายที่จะขยายและสนับสนุนการปลูกป่าชายเลนเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของราชการ และส่วนของเอกชน ตามพื้นที่ว่างเปล่าบริเวณชายฝั่งทะเล ทั้งที่ผ่านการทำเหมืองแร่ หรือพื้นที่นากุ้ง หรือนาข้าวที่เลิกไปแล้ว ซึ่งมีอยู่มากมาย และมีโอกาสที่จะฟื้นฟูให้เป็นป่าชายเลนขึ้นมาได้ นอกจากนี้พื้นที่ดินงอกตามชายฝั่งทะเลก็เป็นพื้นที่ที่จะสามารถปลูกป่าชายเลนขึ้นมาได้
3. การใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าชายเลนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการศึกษาวิจัยเพื่อหาวิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ใสการใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านป่าไม้ ประมงและวิธีการผสมผสานระหว่างป่าไม้กับประมงให้มากขึ้น ซึ่งในเรื่องนี้ หากทางด้านผู้ปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ควบคุม และนักวิชาการ ได้ร่วมมือกันอย่างจริงจังแล้ว เชื่อว่าการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าชายเลนจะประสบผลสำเร็จมากขึ้น โดยได้ผลิตผลสูงขึ้น และปราศจากการทำลายระบบนิเวศของตัวเอง

ความสำคัญของป่าชายเลน
ป่าชายเลน นับวันจะมีความสำคัญมากขึ้นต่อชีวิตประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศที่มีทรัพยากรประเภท นี้ ประเทศไทยใช้ทรัพยากรป่าชายเลน ทั้งทางด้านป่าไม้ และด้านประมง โดยเฉพาะเป็นแหล่งขยายพันธุ์ และเป็นแหล่งอนุบาลในด้านป่าไม้ ผลิตผลที่ได้จากป่าชายเลน ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศได้มาก ก็คือการนำไม้จากป่าชายเลนโดยเฉพาะไม้โกงกางมาบ้าน และในปัจจุบัน อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นไม้จากป่าชายเลน โดยเฉพาะผลิตผลด้านเมทิลแอลกอฮอล์ กรดน้ำส้ม และน้ำมันดิบ เป็นต้น สำหรับในด้านการประมง ป่าชายเลนถือว่าเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญต่อสัตว์น้ำนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นพวกกุ้ง หอย ปู และปลา วงจรชีวิตของสัตว์น้ำเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กับป่าชายเลนอย่างมาก ทั้งในด้านเป็นที่อยู่ศัย แหล่งเพาะพันธุ์ และการเจริญเติบโต ป่าชายเลนสามารถผลิตอาหารแร่ธาตุหลายชนิด โดยได้จากการร่วงหล่นและสลายตัวของเศษไม้ ใบไม้ ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศป่าชายเลน จะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์น้ำกับป่าชายเลนนั้นมีมากมาย หากมีการทำลายป่าชายเลนนั้นมีมากมาย หากมีการทำลายป่าชายเลนลงแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเหล่านี้จะหมดไป และในที่สุด ทรัพยากรสัตว์น้ำก็จะลดปริมาณลง หรือหมดไปอีกด้วย












ที่มา.http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/chailen/len2.htm