Friday, February 23, 2007

องค์การสะพานปลา

ความเป็นมาของหน่วยงาน
ในอดีตการขนถ่ายและจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำเค็มของกรุงเทพฯ มีศูนย์รวมอยู่ที่ถนนทรงวาด อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ส่วนการจำหน่ายสัตว์น้ำจืดมีศูนย์รวมอยู่ที่หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม สถานที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวคับแคบและสกปรก ทำให้การดำเนินธุรกิจไปอย่างไม่สะดวก ในปี พ.ศ.2491 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย Dr. K.F. VASS และ Dr. J. REUTER มาศึกษาภาวะการประมงของประเทศไทยตามคำร้องขอของรัฐบาล ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้เสนอว่าระบบตลาดปลาที่มีอยู่เดิมยังขาดหลักการดำเนินงานทางวิชาการและขาดการสงเคราะห์ในด้านสังคมและเศรษฐกิจ สมควรที่รัฐบาลจะเข้าดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในด้านต่างๆ 6 ประการ ดังนี้

บริการเกี่ยวกับการขนส่งสัตว์น้ำไปสู่ตลาด (การขนส่ง)
-บริการเกี่ยวกับการเก็บสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา (ห้องเย็น)
-การจัดระบบเลหลังสินค้าสัตว์น้ำ (ตลาดกลางหรือสะพานปลา)
-จัดองค์การให้ชาวประมงกู้ยืมเงินทุนและออมสิน (สินเชื่อการเกษตร)
-บริการเกี่ยวกับการขายวัตถุดิบและอุปกรณ์การประมง (เครื่องมือและอุปกรณ์)


บริการเกี่ยวกับการส่งเสริมการประมง แนะนำทางวิชาการและอื่นๆ ตลอดจนบริการเกี่ยวกับป่วยเจ็บ (วิชาการและสวัสดิการ) จากข้อเสนอดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจการประมงด้านการตลาด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการเสนอรัฐบาล เมื่อรัฐบาลรับหลักการและเห็นชอบให้ดำเนินการแล้ว กรมประมงจึงได้เริ่มงานในการก่อสร้างสะพานปลาของรัฐขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลยานนาวา อำเภอยานนาวา กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2492 ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2496 อันเป็นกฎหมายในการจัดตั้งองค์การสะพานปลา องค์การสะพานปลาจึงได้ถือกำเนิดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา




• วิสัยทัศน์/แผนการดำเนินงาน
1.พัฒนาตลาดกลางสินค้าสัตว์น้ำให้เข้าสู่ระบบ ISO 9002 และ ISO 14000
2.สนับสนุนระบบการซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำด้วยวิธีการขายทอดตลาด (วิธีประมูล) เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจประมงและผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในด้านราคา
3.ปรับปรุงระบบข้อมูลข่าวสารด้านตลาดสินค้าสัตว์น้ำให้ผู้ประกอบธุรกิจประมงได้รับรู้อย่างรวดเร็วด้วยระบบสารสนเทศที่พัฒนาแล้ว


• ภารกิจ/วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
1.จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการประมง
2.จัดดำเนินการหรือควบคุม และอำนวยบริการซึ่งกิจการแพปลา การขนส่งและกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวกับกิจการแพปลา
3.จัดส่งเสริมฐานะสวัสดิการ หรืออาชีพของชาวประมง และบูรณะหมู่บ้านการประมง
4.จัดส่งเสริมสหกรณ์หรือสมาคมการประมง
5.สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิหรือครอบครองซึ่งทรัพย์สินต่างๆ
6.กู้ยืมเงินหรือยืมสิ่งของ ให้กู้ยืมเงินหรือให้ยืมสิ่งของ


• อำนาจหน้าที่
1.กองบริหารทั่วไป อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการทั่วไป ประกอบด้วย งานสารบรรณ งานเจ้าหน้าที่ งานวิศวกรรม งานนิติการ และงานประชาสัมพันธ์
2.กองคลัง อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบัญชีขององค์การสะพานปลาทั้งหมด รวมถึงการเงิน การพัสดุ และการงบประมาณและสถิติ
3.กองพัฒนาการประมง อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน การให้สินเชื่อ วางแผนโครงการต่างๆ และประเมินผล จัดส่งเสริมฐานะ สวัสดิการและอาชีพของชาวประมง
4.สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบทำนองเดียวกับข้อ 1-3 โดยอนุโลมรวมถึงอำนวยบริการการจอดเรือประมง การขนถ่าย การคัดเลือกสินค้าสัตว์น้ำ การจราจร ความสะอาด ความปลอดภัย เป็นต้น
5.สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการองค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานประชุม การรายงานการประชุม เวียนมติที่ประชุม
6.งานผู้ตรวจการองค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่รับผิดชอบตรวจและแนะนำการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี กฎข้อบังคับ ระเบียบแบบแผน
7.งานผู้ตรวจสอบภายใน อำนาจหน้าที่ตรวจสอบบัญชี การเงิน การพัสดุ รวมถึงการให้คำแนะนำวิธีการปรับปรุงแก้ไข

• การดำเนินงานขององค์การสะพานปลา
ได้กำหนดกิจกรรมหลักในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ดังนี้
1.การจัดบริการพื้นฐานทางการประมง โดยได้ก่อสร้างสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงที่ได้มาตรฐานเพื่อให้บริการสถานที่ขนถ่าย และเป็นตลาดกลางซื้อขายสัตว์น้ำพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน เช่น เครื่องชั่ง เครื่องมือขนถ่ายสัตว์น้ำ ภาชนะบรรจุก่อนการขนส่งและอื่น ๆ การดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นการให้บริการพื้นฐานทางการประมง เพื่อสร้างระบบและความมีระเบียบในการซื้อขายสัตว์น้ำ รักษาระดับราคาที่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด เป็นกิจการสาธารณะที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งรัฐพึงจัดดำเนินงาน
2.การพัฒนาการประมง เพื่อช่วย ชาวประมงสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถในการประกอบการให้สูงขึ้น ตลอดจนการแสวงหาวิธีการทำประมงรูปแบบใหม่เพื่อทดแทนการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศที่ถดถอยลง ดำเนินงานโดยการให้การศึกษา อบรม การสัมมนาและการดูงานแก่ชาวประมง ผู้นำชาวประมง ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประมง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการทำประมงที่ทันสมัย
3.การส่งเสริมการประมง การส่งเสริมการประมงเป็นกิจกรรมที่องค์การสะพานปลาดำเนินงาน ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ซึ่งกำหนดให้องค์การสะพานปลาแบ่งส่วนรายได้ร้อยละ 25 จากค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบกิจการแพปลา จัดตั้งเป็นเงินทุนส่งเสริมการประมง เพื่อนำมาช่วยเหลือชาวประมงในรูปการให้เปล่า เพื่อใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์แก่ชุมชนชาวประมง ให้กู้ยืมแก่สถาบันการประมง เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนดำเนินธุรกิจสร้างหรือขยายท่าเทียบเรือประมงขนาดเล็กในท้องถิ่น การให้เงินทุนช่วยเหลือการศึกษาบุตรชาวประมง การให้เงินทุนวิจัยทางการประมง แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนการให้เงินช่วยเหลือครอบครัวแก่ชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุบัติภัยทางทะเลหรือถูกจับในต่างประเทศ
4.การดำเนินงานธุรกิจการประมง การดำเนินธุรกิจการประมงเป็นกิจกรรมสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานแก่ชาวประมงและเพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ประกอบด้วย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม การจำหน่ายน้ำแข็ง เป็นตัวแทนจำหน่าย และรับซื้อสัตว์น้ำจากชาวประมง ที่ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช และท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส


• โครงสร้าง-แผนผังองค์กร
1.กองบริหารทั่วไป ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-0300 Fax. 0-2212-5899
2.กองคลัง ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-2992 Fax. 0-2213-2780
3.กองพัฒนาการประมง ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-0471 Fax. 0-2212-4494
4.สะพานปลากรุงเทพ ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-4394 Fax. 0-2212-4690
5.สะพานปลาสมุทรสาคร ที่อยู่ 1024 ถ.วิเชียรโชฎก ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000 Tel. 0-3442-2803 Fax. 0-3442-2803
6.สะพานปลาสมุทรปราการ ที่อยู่ 340 หมู่ที่ 6 ถ.ท้ายบ้าน ต.ท้ายบ้าน อ.เมืองฯ จ.สมุทรปราการ 10280 Tel. 0-2395-1647-8 Fax. 0-2395-2789
7.ท่าเทียบเรือประมงสงขลา ที่อยู่ เลขที่ 1 ถ.ท่าเทียบเรือ ต.บ่อยาง อ.เมืองฯ จ.สงขลา 90000 Tel. 0-7431-3606, 0-7431-1444 Fax. 0-7431-3606
8.ท่าเทียบเรือประมงระนอง ที่อยู่ ถ.สะพานปลา ต.ปากนํ้า อ.เมืองฯ จ.ระนอง 85000 Tel. 0-7781-1532 Fax. 0-7781-2232
9.ท่าเทียบเรือประมงสุราษฎร์ธานี ที่อยู่ 3/1 ถ.้ต้นโพธิ์ ต.ตลาดล่าง อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี 84000 Tel. 0-7727-2545 Fax. 0-7728-1545
10.ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี ที่อยู่ หมู่ที่ 8 ถ.นาเกลือ ต.บานา อ.เมืองฯ จ.ปัตตานี 94000 Tel. 0-7334-9168 Fax. 0-7334-9342
11.ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ที่อยู่ หมู่ที่ 1 ถ.ศรีสุทัศน์ ต.รัษฎา อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต 83000 Tel. 0-7621-5489, 0-7621-1699 Fax. 0-7621-1699
12.ท่าเทียบเรือประมงหัวหิน ที่อยู่ ถ.ชมสินธุ์ ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110 Tel. 0-3251-1178 Fax. 0-3251-1178
13.ท่าเทียบเรือประมงตราด ที่อยู่ ถ.ชลประทาน ต.วังกระแจะ อ.เมืองฯ จ.ตราด 23000 Tel. 0-951-1176 Fax. 0-3951-11761
14.ท่าเทียบเรือประมงสตูล ที่อยู่ ต.ตำมะลัง อ.เมืองฯ จ.สตูล 91000 Tel. 0-7472-2169 Fax. 0-7472-2169
15.ท่าเทียบเรือประมงชุมพร ที่อยู่ 400 หมู่ที่ 8 ต.ปากนํ้า อ.เมืองฯ จ.ชุมพร 86120 Tel. 0-7752-1122 Fax. 0-7752-1209
16.ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช ที่อยู่ 431 หมู่ที่ 4 ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช หรือ ตู้ ปณ. 8 อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช 80140 Tel. 0-7551-7752, 0-7551-7754-5 Fax. 0-7551-7753
17.ท่าเทียบเรือประมงปราณบุรี ที่อยู่ ต.ปากนํ้าปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
18.สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการ องค์การสะพานปลา ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-9699 Fax. 0-2212-5899
19.ผู้ตรวจการองค์การสะพานปลา ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2212-4256 Fax. 0-2212-5899
20.ผู้ตรวจสอบภายใน ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-9699 Fax. 0-2212-5899

Tuesday, February 20, 2007

การอนุรักษ์ปลาโลมาและวาฬ

โลมาและวาฬ
• โลมาและวาฬเป็นสัตว์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าปี พ.ศ. 2535
• วาฬที่พบในไทย 10 ชนิด ส่วนโลมา 10 ชนิด
• ยังไม่สามารถประเมินได้ว่า น่านน้ำไทยมีวาฬและโลมาจำนวนมากน้อยเพียงใด
สิ่งที่ควรทำในการดูโลมา !
• เมื่อเข้าใกล้ฝูงโลมาควรเคลื่อนเรือให้ช้าที่สุด แล้วดับเครื่องใช้พายเบาๆ
• รักษาระยะห่างไม่ควรเข้าใกล้เกิน 30 เมตร
• ไม่ควรนำเรือเข้าฝ่ากลางฝูงโลมา หรือไล่หลังโลมา ควรดูอยู่ข้างๆ ฝูง
• ไม่ควรนำเรือไปดักหน้า หรือขวางหน้าฝูงโลมา
• ไม่ควรเร่งเครื่องเรือ หรือเร่งความเร็วกระทันหัน
• ไม่ควรให้อาหารโลมา ทำให้นิสัยการกินอาหารเปลี่ยนไป
• ไม่ควรร้องตะโกนส่งเสียงดัง จะทำให้โลมาตกใจได้
การอนุรักษ์โลมา!
ประเทศไทยมีการกฎหมายเกี่ยวกับโลมา ได้แก่
• พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
• พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

เราจะช่วยอนุรักษ์โลมาร่วมกับราชการได้อย่างไร !

• บันทึกวันที่ เวลา สถานที่ที่พบโลมา
• จำนวนตัวในฝูงว่า มีกี่ตัว ขนาดหัวถึงหางยาวประมาณเท่าไร มีลูกด้วยหรือไม่ จำนวนลูกกี่ตัว
• ลักษณะเด่นชัดของครีบหลัง ครีบหลังมีหรือไม่มี วาดเก็บไว้ด้วย
• รูปร่างลักษณะของตัว เช่น ปากยาวหรือสั้น
• สีและลายตามลำตัว


• พฤติกรรมการว่ายน้ำ ดำน้ำ ผุดขึ้นลงอย่างไร
• สภาพอากาศและน้ำ เช่น ความขุ่นใสของน้ำ ลักษณะคลื่นลม





เวปไซด์ที่เกี่ยวข้อง http://www.dmcr.go.th/Marine/pdf/rare-marine%20animals.ppt

Tuesday, February 13, 2007

กฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์เต่าทะเล








กฏหมายว่าด้วยการอนุรักษ์เต่าทะเลไทยมีมาช้านานแล้ว แต่ขั้นตอนในการปฏิบัติยังประสบปัญหา อยู่ โดยเฉพาะประชาชนชาวไทยยังขาดความเคารพต่อกฏหมาย และยังขาดความสำนึกถึงความสำคัญของ การอนุรักษ์ทรัพยากรเต่าทะเล จึงทำให้ขาดความร่วมมือในการอนุรักษ์อย่างจริงจัง เต่าทะเลยังคงถูกทำลายลงเรื่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่มีกฎระเบียบต่าง ๆ ออกมามากมาย กฏหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์เต่าทะเลได้แก่


1. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงวันที่ 14 เมษายน 2490 อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 32 (7) แห่งพระราชบัญญัติการประมงพ.ศ. 2490 " ห้ามมิให้บุคคลใด จับ ดัก ล่อ ทำอันตราย หรือ ฆ่าเต่าทะเล และ กระทะเลทุกชนิดโดยเด็ดขาด แม้เต่าหรือกระนั้นจะติดหรือถูกจับขึ้นมาด้วยเครื่องมือใด ๆ ก็ตามให้ปล่อยลงทะเลไปทันที่รวมทั้งห้ามมิให้บุคคลใด เก็บ หรือ ทำอันตรายไข่เต่าทะเล และ ไข่กระทะเล ทุกชนิดในหาดทุกแห่ง เว้นแต่ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่


2. กฏกระทรวงฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่า พ.ศ. 2503 กำหนดให้เต่ากระเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภท 1 ดังนั้นจึงห้ามฆ่าหรือมีไว้ครอบครอง ซากของเต่ากระ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่


3. พระราชกฤษฎีการะบุสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำบางชนิดห้ามมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้า พ.ศ. 2535 ซึ่งเนื้อหาของพระราชกฤษฎีกาครอบคลุมรวมทั้งเต่าและกระทะเล ตลอดจนผลิตภัณฑ์ของเต่า และกระทะเลด้วย


4. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรฉบับที่ 58 ปี พ.ศ. 2534 ข้อความในประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับนี้ครอบคลุมถึงการห้ามส่งออกเต่าและกระทะเล ตลอดจนผลิตภัณฑ์ของเต่าและกระทะเลด้วย


5. ประกาศกรมประมง เรื่องการใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ข้อความในประกาศกรมประมงฉบับนี้ ได้รวมเต่าทะเลและกระทะเลเป็นสัตว์สงวนเช่นเดียวกันกับสัตว์อื่นๆ อีกหลายชนิด
นอกจากกฏหมายในประเทศหลายข้อที่มุ่งอนุรักษ์เต่าทะเลของไทยแล้ว ยังมีกฏหมายระหว่างประเทศ ที่ได้เห็นพ้องต้องกันให้มีการเข้มงวดในการอนุรักษ์เต่าทะเลของโลกไว้ด้วย ซึ่งมาตรการที่สำคัญได้แก่

- อนุสัญญา CITES ห้ามประเทศสมาชิกนำเข้าและส่งออก เต่า, กระ, ซากเต่าหรือส่วนหนึ่งส่วนใด ของเต่า และกระเพื่อการค้า ซึ่งนับว่าเป็นการร่วมมือกันอนุรักษ์เต่าทะเลในระดับประเทศ
- การรณรงค์ให้ใช้เครื่องมือแยกเต่าออกจากอวนลาก Turtle Exclusive Device (TED)

เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง http://www.pmbc.go.th/Turtle/Conservative.html