Wednesday, March 7, 2007

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้าชม blogger เพื่อ การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ

กระผมและสมาชิกได้รวบรวมเนื้อหาและความรู้ทั้งไปในทาง การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ ชึ่งได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนของรายวิชา กฏหมายประมง ซึ่งเนื้อหาที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อหรือข่าวสารในการ ที่จะช่วยให้พันธุ์สัตว์น้ำนั้นมีปริมาณที่มากพอที่จะเป็นทรัพยากรที่อยู่กับท้องทะเลไปได้อีกนานกระผมและสมาชิกหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะมีประโยชน์แก่ผู้ที่ได้รับชมเป็นอย่างมาก
หารเนื้อหาที่กระผมและสมาชิกได้จัดทำขึ้นนั้นมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ติดต่อได้ที่seahunter_jompon@hotmail กระผมและสมาชิกจะแก้ไขและปรับปรุงให้






ด้วยความเครพเป็นอย่างสูง
( นาย จอมพล จิตต์เลขา )
( นาย ศิริพงศ์ ช่างพูด )
เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

Friday, February 23, 2007

องค์การสะพานปลา

ความเป็นมาของหน่วยงาน
ในอดีตการขนถ่ายและจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำเค็มของกรุงเทพฯ มีศูนย์รวมอยู่ที่ถนนทรงวาด อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ส่วนการจำหน่ายสัตว์น้ำจืดมีศูนย์รวมอยู่ที่หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม สถานที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวคับแคบและสกปรก ทำให้การดำเนินธุรกิจไปอย่างไม่สะดวก ในปี พ.ศ.2491 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย Dr. K.F. VASS และ Dr. J. REUTER มาศึกษาภาวะการประมงของประเทศไทยตามคำร้องขอของรัฐบาล ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้เสนอว่าระบบตลาดปลาที่มีอยู่เดิมยังขาดหลักการดำเนินงานทางวิชาการและขาดการสงเคราะห์ในด้านสังคมและเศรษฐกิจ สมควรที่รัฐบาลจะเข้าดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในด้านต่างๆ 6 ประการ ดังนี้

บริการเกี่ยวกับการขนส่งสัตว์น้ำไปสู่ตลาด (การขนส่ง)
-บริการเกี่ยวกับการเก็บสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา (ห้องเย็น)
-การจัดระบบเลหลังสินค้าสัตว์น้ำ (ตลาดกลางหรือสะพานปลา)
-จัดองค์การให้ชาวประมงกู้ยืมเงินทุนและออมสิน (สินเชื่อการเกษตร)
-บริการเกี่ยวกับการขายวัตถุดิบและอุปกรณ์การประมง (เครื่องมือและอุปกรณ์)


บริการเกี่ยวกับการส่งเสริมการประมง แนะนำทางวิชาการและอื่นๆ ตลอดจนบริการเกี่ยวกับป่วยเจ็บ (วิชาการและสวัสดิการ) จากข้อเสนอดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจการประมงด้านการตลาด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการเสนอรัฐบาล เมื่อรัฐบาลรับหลักการและเห็นชอบให้ดำเนินการแล้ว กรมประมงจึงได้เริ่มงานในการก่อสร้างสะพานปลาของรัฐขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลยานนาวา อำเภอยานนาวา กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2492 ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2496 อันเป็นกฎหมายในการจัดตั้งองค์การสะพานปลา องค์การสะพานปลาจึงได้ถือกำเนิดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา




• วิสัยทัศน์/แผนการดำเนินงาน
1.พัฒนาตลาดกลางสินค้าสัตว์น้ำให้เข้าสู่ระบบ ISO 9002 และ ISO 14000
2.สนับสนุนระบบการซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำด้วยวิธีการขายทอดตลาด (วิธีประมูล) เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจประมงและผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในด้านราคา
3.ปรับปรุงระบบข้อมูลข่าวสารด้านตลาดสินค้าสัตว์น้ำให้ผู้ประกอบธุรกิจประมงได้รับรู้อย่างรวดเร็วด้วยระบบสารสนเทศที่พัฒนาแล้ว


• ภารกิจ/วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
1.จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการประมง
2.จัดดำเนินการหรือควบคุม และอำนวยบริการซึ่งกิจการแพปลา การขนส่งและกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวกับกิจการแพปลา
3.จัดส่งเสริมฐานะสวัสดิการ หรืออาชีพของชาวประมง และบูรณะหมู่บ้านการประมง
4.จัดส่งเสริมสหกรณ์หรือสมาคมการประมง
5.สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิหรือครอบครองซึ่งทรัพย์สินต่างๆ
6.กู้ยืมเงินหรือยืมสิ่งของ ให้กู้ยืมเงินหรือให้ยืมสิ่งของ


• อำนาจหน้าที่
1.กองบริหารทั่วไป อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการทั่วไป ประกอบด้วย งานสารบรรณ งานเจ้าหน้าที่ งานวิศวกรรม งานนิติการ และงานประชาสัมพันธ์
2.กองคลัง อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบัญชีขององค์การสะพานปลาทั้งหมด รวมถึงการเงิน การพัสดุ และการงบประมาณและสถิติ
3.กองพัฒนาการประมง อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน การให้สินเชื่อ วางแผนโครงการต่างๆ และประเมินผล จัดส่งเสริมฐานะ สวัสดิการและอาชีพของชาวประมง
4.สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบทำนองเดียวกับข้อ 1-3 โดยอนุโลมรวมถึงอำนวยบริการการจอดเรือประมง การขนถ่าย การคัดเลือกสินค้าสัตว์น้ำ การจราจร ความสะอาด ความปลอดภัย เป็นต้น
5.สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการองค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานประชุม การรายงานการประชุม เวียนมติที่ประชุม
6.งานผู้ตรวจการองค์การสะพานปลา อำนาจหน้าที่รับผิดชอบตรวจและแนะนำการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี กฎข้อบังคับ ระเบียบแบบแผน
7.งานผู้ตรวจสอบภายใน อำนาจหน้าที่ตรวจสอบบัญชี การเงิน การพัสดุ รวมถึงการให้คำแนะนำวิธีการปรับปรุงแก้ไข

• การดำเนินงานขององค์การสะพานปลา
ได้กำหนดกิจกรรมหลักในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ดังนี้
1.การจัดบริการพื้นฐานทางการประมง โดยได้ก่อสร้างสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงที่ได้มาตรฐานเพื่อให้บริการสถานที่ขนถ่าย และเป็นตลาดกลางซื้อขายสัตว์น้ำพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน เช่น เครื่องชั่ง เครื่องมือขนถ่ายสัตว์น้ำ ภาชนะบรรจุก่อนการขนส่งและอื่น ๆ การดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นการให้บริการพื้นฐานทางการประมง เพื่อสร้างระบบและความมีระเบียบในการซื้อขายสัตว์น้ำ รักษาระดับราคาที่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด เป็นกิจการสาธารณะที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งรัฐพึงจัดดำเนินงาน
2.การพัฒนาการประมง เพื่อช่วย ชาวประมงสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถในการประกอบการให้สูงขึ้น ตลอดจนการแสวงหาวิธีการทำประมงรูปแบบใหม่เพื่อทดแทนการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศที่ถดถอยลง ดำเนินงานโดยการให้การศึกษา อบรม การสัมมนาและการดูงานแก่ชาวประมง ผู้นำชาวประมง ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประมง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการทำประมงที่ทันสมัย
3.การส่งเสริมการประมง การส่งเสริมการประมงเป็นกิจกรรมที่องค์การสะพานปลาดำเนินงาน ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ซึ่งกำหนดให้องค์การสะพานปลาแบ่งส่วนรายได้ร้อยละ 25 จากค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบกิจการแพปลา จัดตั้งเป็นเงินทุนส่งเสริมการประมง เพื่อนำมาช่วยเหลือชาวประมงในรูปการให้เปล่า เพื่อใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์แก่ชุมชนชาวประมง ให้กู้ยืมแก่สถาบันการประมง เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนดำเนินธุรกิจสร้างหรือขยายท่าเทียบเรือประมงขนาดเล็กในท้องถิ่น การให้เงินทุนช่วยเหลือการศึกษาบุตรชาวประมง การให้เงินทุนวิจัยทางการประมง แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนการให้เงินช่วยเหลือครอบครัวแก่ชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุบัติภัยทางทะเลหรือถูกจับในต่างประเทศ
4.การดำเนินงานธุรกิจการประมง การดำเนินธุรกิจการประมงเป็นกิจกรรมสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานแก่ชาวประมงและเพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ประกอบด้วย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม การจำหน่ายน้ำแข็ง เป็นตัวแทนจำหน่าย และรับซื้อสัตว์น้ำจากชาวประมง ที่ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช และท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส


• โครงสร้าง-แผนผังองค์กร
1.กองบริหารทั่วไป ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-0300 Fax. 0-2212-5899
2.กองคลัง ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-2992 Fax. 0-2213-2780
3.กองพัฒนาการประมง ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-0471 Fax. 0-2212-4494
4.สะพานปลากรุงเทพ ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-4394 Fax. 0-2212-4690
5.สะพานปลาสมุทรสาคร ที่อยู่ 1024 ถ.วิเชียรโชฎก ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000 Tel. 0-3442-2803 Fax. 0-3442-2803
6.สะพานปลาสมุทรปราการ ที่อยู่ 340 หมู่ที่ 6 ถ.ท้ายบ้าน ต.ท้ายบ้าน อ.เมืองฯ จ.สมุทรปราการ 10280 Tel. 0-2395-1647-8 Fax. 0-2395-2789
7.ท่าเทียบเรือประมงสงขลา ที่อยู่ เลขที่ 1 ถ.ท่าเทียบเรือ ต.บ่อยาง อ.เมืองฯ จ.สงขลา 90000 Tel. 0-7431-3606, 0-7431-1444 Fax. 0-7431-3606
8.ท่าเทียบเรือประมงระนอง ที่อยู่ ถ.สะพานปลา ต.ปากนํ้า อ.เมืองฯ จ.ระนอง 85000 Tel. 0-7781-1532 Fax. 0-7781-2232
9.ท่าเทียบเรือประมงสุราษฎร์ธานี ที่อยู่ 3/1 ถ.้ต้นโพธิ์ ต.ตลาดล่าง อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี 84000 Tel. 0-7727-2545 Fax. 0-7728-1545
10.ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี ที่อยู่ หมู่ที่ 8 ถ.นาเกลือ ต.บานา อ.เมืองฯ จ.ปัตตานี 94000 Tel. 0-7334-9168 Fax. 0-7334-9342
11.ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ที่อยู่ หมู่ที่ 1 ถ.ศรีสุทัศน์ ต.รัษฎา อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต 83000 Tel. 0-7621-5489, 0-7621-1699 Fax. 0-7621-1699
12.ท่าเทียบเรือประมงหัวหิน ที่อยู่ ถ.ชมสินธุ์ ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110 Tel. 0-3251-1178 Fax. 0-3251-1178
13.ท่าเทียบเรือประมงตราด ที่อยู่ ถ.ชลประทาน ต.วังกระแจะ อ.เมืองฯ จ.ตราด 23000 Tel. 0-951-1176 Fax. 0-3951-11761
14.ท่าเทียบเรือประมงสตูล ที่อยู่ ต.ตำมะลัง อ.เมืองฯ จ.สตูล 91000 Tel. 0-7472-2169 Fax. 0-7472-2169
15.ท่าเทียบเรือประมงชุมพร ที่อยู่ 400 หมู่ที่ 8 ต.ปากนํ้า อ.เมืองฯ จ.ชุมพร 86120 Tel. 0-7752-1122 Fax. 0-7752-1209
16.ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช ที่อยู่ 431 หมู่ที่ 4 ต.ปากพนังฝั่งตะวันตก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช หรือ ตู้ ปณ. 8 อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช 80140 Tel. 0-7551-7752, 0-7551-7754-5 Fax. 0-7551-7753
17.ท่าเทียบเรือประมงปราณบุรี ที่อยู่ ต.ปากนํ้าปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
18.สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการ องค์การสะพานปลา ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-9699 Fax. 0-2212-5899
19.ผู้ตรวจการองค์การสะพานปลา ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2212-4256 Fax. 0-2212-5899
20.ผู้ตรวจสอบภายใน ที่อยู่ 211 ถ.เจริญกรุง 58 แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel. 0-2211-9699 Fax. 0-2212-5899

Tuesday, February 20, 2007

การอนุรักษ์ปลาโลมาและวาฬ

โลมาและวาฬ
• โลมาและวาฬเป็นสัตว์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าปี พ.ศ. 2535
• วาฬที่พบในไทย 10 ชนิด ส่วนโลมา 10 ชนิด
• ยังไม่สามารถประเมินได้ว่า น่านน้ำไทยมีวาฬและโลมาจำนวนมากน้อยเพียงใด
สิ่งที่ควรทำในการดูโลมา !
• เมื่อเข้าใกล้ฝูงโลมาควรเคลื่อนเรือให้ช้าที่สุด แล้วดับเครื่องใช้พายเบาๆ
• รักษาระยะห่างไม่ควรเข้าใกล้เกิน 30 เมตร
• ไม่ควรนำเรือเข้าฝ่ากลางฝูงโลมา หรือไล่หลังโลมา ควรดูอยู่ข้างๆ ฝูง
• ไม่ควรนำเรือไปดักหน้า หรือขวางหน้าฝูงโลมา
• ไม่ควรเร่งเครื่องเรือ หรือเร่งความเร็วกระทันหัน
• ไม่ควรให้อาหารโลมา ทำให้นิสัยการกินอาหารเปลี่ยนไป
• ไม่ควรร้องตะโกนส่งเสียงดัง จะทำให้โลมาตกใจได้
การอนุรักษ์โลมา!
ประเทศไทยมีการกฎหมายเกี่ยวกับโลมา ได้แก่
• พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
• พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

เราจะช่วยอนุรักษ์โลมาร่วมกับราชการได้อย่างไร !

• บันทึกวันที่ เวลา สถานที่ที่พบโลมา
• จำนวนตัวในฝูงว่า มีกี่ตัว ขนาดหัวถึงหางยาวประมาณเท่าไร มีลูกด้วยหรือไม่ จำนวนลูกกี่ตัว
• ลักษณะเด่นชัดของครีบหลัง ครีบหลังมีหรือไม่มี วาดเก็บไว้ด้วย
• รูปร่างลักษณะของตัว เช่น ปากยาวหรือสั้น
• สีและลายตามลำตัว


• พฤติกรรมการว่ายน้ำ ดำน้ำ ผุดขึ้นลงอย่างไร
• สภาพอากาศและน้ำ เช่น ความขุ่นใสของน้ำ ลักษณะคลื่นลม





เวปไซด์ที่เกี่ยวข้อง http://www.dmcr.go.th/Marine/pdf/rare-marine%20animals.ppt

Tuesday, February 13, 2007

กฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์เต่าทะเล








กฏหมายว่าด้วยการอนุรักษ์เต่าทะเลไทยมีมาช้านานแล้ว แต่ขั้นตอนในการปฏิบัติยังประสบปัญหา อยู่ โดยเฉพาะประชาชนชาวไทยยังขาดความเคารพต่อกฏหมาย และยังขาดความสำนึกถึงความสำคัญของ การอนุรักษ์ทรัพยากรเต่าทะเล จึงทำให้ขาดความร่วมมือในการอนุรักษ์อย่างจริงจัง เต่าทะเลยังคงถูกทำลายลงเรื่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่มีกฎระเบียบต่าง ๆ ออกมามากมาย กฏหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์เต่าทะเลได้แก่


1. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงวันที่ 14 เมษายน 2490 อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 32 (7) แห่งพระราชบัญญัติการประมงพ.ศ. 2490 " ห้ามมิให้บุคคลใด จับ ดัก ล่อ ทำอันตราย หรือ ฆ่าเต่าทะเล และ กระทะเลทุกชนิดโดยเด็ดขาด แม้เต่าหรือกระนั้นจะติดหรือถูกจับขึ้นมาด้วยเครื่องมือใด ๆ ก็ตามให้ปล่อยลงทะเลไปทันที่รวมทั้งห้ามมิให้บุคคลใด เก็บ หรือ ทำอันตรายไข่เต่าทะเล และ ไข่กระทะเล ทุกชนิดในหาดทุกแห่ง เว้นแต่ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่


2. กฏกระทรวงฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่า พ.ศ. 2503 กำหนดให้เต่ากระเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภท 1 ดังนั้นจึงห้ามฆ่าหรือมีไว้ครอบครอง ซากของเต่ากระ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่


3. พระราชกฤษฎีการะบุสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำบางชนิดห้ามมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้า พ.ศ. 2535 ซึ่งเนื้อหาของพระราชกฤษฎีกาครอบคลุมรวมทั้งเต่าและกระทะเล ตลอดจนผลิตภัณฑ์ของเต่า และกระทะเลด้วย


4. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรฉบับที่ 58 ปี พ.ศ. 2534 ข้อความในประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับนี้ครอบคลุมถึงการห้ามส่งออกเต่าและกระทะเล ตลอดจนผลิตภัณฑ์ของเต่าและกระทะเลด้วย


5. ประกาศกรมประมง เรื่องการใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ข้อความในประกาศกรมประมงฉบับนี้ ได้รวมเต่าทะเลและกระทะเลเป็นสัตว์สงวนเช่นเดียวกันกับสัตว์อื่นๆ อีกหลายชนิด
นอกจากกฏหมายในประเทศหลายข้อที่มุ่งอนุรักษ์เต่าทะเลของไทยแล้ว ยังมีกฏหมายระหว่างประเทศ ที่ได้เห็นพ้องต้องกันให้มีการเข้มงวดในการอนุรักษ์เต่าทะเลของโลกไว้ด้วย ซึ่งมาตรการที่สำคัญได้แก่

- อนุสัญญา CITES ห้ามประเทศสมาชิกนำเข้าและส่งออก เต่า, กระ, ซากเต่าหรือส่วนหนึ่งส่วนใด ของเต่า และกระเพื่อการค้า ซึ่งนับว่าเป็นการร่วมมือกันอนุรักษ์เต่าทะเลในระดับประเทศ
- การรณรงค์ให้ใช้เครื่องมือแยกเต่าออกจากอวนลาก Turtle Exclusive Device (TED)

เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง http://www.pmbc.go.th/Turtle/Conservative.html

Tuesday, January 30, 2007

การอนุรักษ์และฟื้นฟูวงจรชีวิตของปลาทู

ปลาทู ซึ่งมีวงจรชีวิตช่วงหนึ่งต้องอาศัยพื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งวางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม ของทุกปี

ปลาทูจะอพยพมาจากทางตอนบนของอ่าวไทย (จังหวัดจันทบุรี ตราด) มาวางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน บริเวณเกาะเต่า เกาะพงันและหมู่เกาะอ่างทองจังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วจากนั้นก็จะอพยพตามแนวชายฝั่งทะเลเพื่อกลับไปยังที่เดิม(ดังภาพที่ 1) และนอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาถึงเครื่องมือทำการประมงที่มีผลกระทบต่อปลาทู ซึ่งพบเครื่องมือทำการประมงที่มีผลกระทบมีอยู่ 5 ประเภท เมื่อศึกษาแล้วได้ข้อสรุปกรมประมงจึงเสนอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อออกเป็นประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูปลาที่มีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน ในท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายในระยะเวลาที่กำหนด ” ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

พื้นที่ห้ามทำการประมง
ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี

ระยะเวลาที่ห้ามทำการประมง
ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 พฤษภาคม ของทุกปี
เครื่องมือที่ห้ามทำการประมง
1. เครื่องมืออวนลากทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกล ยกเว้นอวนลากที่ใช้ประกอบกับเรือกลลำเดียวที่มีขนาด
ความยาวไม่เกิน 16 เมตร ให้ทำการประมงได้เฉพาะในเวลากลางคืน
2. เครื่องอวนติดตาที่ใช้ประกอบเรือกลทำการประมงด้วยวิธีล้อมติดปลาทูหรือด้วยวิธีอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน
3. เครื่องมืออวนล้อมจับทุกชนิด ที่ใช้ประกอบเรือกล
4. เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อนหรืออวนยก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำการประมงปลากะตัก
5. เครื่องมืออวนรุนที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 14 เมตรขึ้นไป
ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
จะเห็นว่าการประกาศ ฯ ดังกล่าว มิได้ครอบคลุมเครื่องมือทำการประมงทุกประเภท ทั้งนี้เพื่อให้ชาวประมงสามารถใช้เครื่องมือประเภทอื่นประกอบอาชีพได้ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด


เว็บไซด์ http://www.fisheries.go.th/marine/knowledge/Bay/Bay.html

Tuesday, January 23, 2007

เครื่องมือทำประมงที่ทำลายพันธุ์สัตว์น้ำ

การประมงอวนรุน



การประมงอวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง พบว่าสัดส่วนลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจและปลาเป็ดแท้ จากการทำประมงอวนรุน มีความแตกต่างกันมากระหว่างอวนรุนใหญ่และอวนรุนเล็กมีค่าเท่ากับ 58:42 และ 70:30 ตามลำดับ เมื่อเฉลี่ยสัดส่วนของอวนรุนทั้ง 2 ประเภทมีค่าเท่ากับ 60 40จากสัดส่วนดังกล่าวนี้นำมาประเมินหาปริมาณ ลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่ปะปนอยู่ในปลาเป็ด โดยน้ำหนักของอวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างที่นำขึ้นมาใช้ประโยชน์ทั้งสิ้น 836 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2.23 ล้านบาท (สถิติกรมประมง , 2533) คิดเฉลี่ยโดยน้ำหนักเป็น ลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ปะปนอยู่ในปลาเป็ดทั้งสิ้น 502 ตัน



จะเห็นว่าในปีหนึ่งๆ อวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทำลายลูกสัตว์น้ำที่ถูกจับขึ้นมาก่อนวัยอันเหมาะสมคิดเป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งนี้เพราะอวนรุนมักจะทำการ ประมงบริเวณใกล้ฝั่งหรือกล่าวได้ว่าอยู่ในเขต 3,000 เมตรทั้งสิ้น ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน ยกเว้นการทำประมงอวนรุนใหญ่ในบางฤดูการเท่านั้น นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำเสื่อมโทรมลง ซึ่งในการจัดการประมง นับว่าเป็นการใช้ ทรัพยากรไปอย่างขาดประสิทธิภาพ กล่าวคือ แทนที่จะปล่อยให้สัตว์น้ำที่ยังเติบโตไม่ได้ขนาดนั้น เจริญเติบโตไป อีกระยะหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขนาดและมูลค่า และ ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า กับการนำเอาสัตว์ที่ยังมีขนาดเล็กมากมาใช้และขายในราคาต่ำรวมกับปลาเป็ด หากมีการชะลอการจับลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจเหล่านี้ให้โตขึ้นมาจนขนาดพอควร สัตว์น้ำต่างๆ จะมีโอกาสขยายพันธุ์ให้ลูกสัตว์น้ำไว้สืบต่อทดแทนสัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่ถูกจับไป ทรัพยากรก็จะไม่เสื่อมโทรมอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้



จากการศึกษาดังกล่าว ได้รายงานให้เห็นความสูญเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประมงอวนรุน บริเวณอ่าวไทยตอนล่างในปี 2533 สามารถประเมินให้เห็นภาพรวมได้โดยคำนวณจากเรืออวนรุนที่ทำการประมงทั้ง 4 แหล่ง คือ บริเวณอ่าวปัตตานี,บริเวณนอกอ่าวปัตตานี,บริเวณทะเลสาบตอนนอกของทะเลสาบสงขลา,บริเวณอ่าวนครฯ จ.นครศรีธรรมราช จะประกอบด้วยอวนรุนใหญ่ประมาณ 80 ลำและอวนเล็กประมาณ 400 ลำ เรือดังกล่าวสามารถออกทำประมงได้เต็มที่ประมาณ 8 เดือนๆละ 20 วัน ฉะนั้นสามารถคำนวณความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งหมดจากการที่อวนรุนจับสัตว์น้ำขึ้นมาก่อนวัยอันเหมาะสม มีมูลค่าทั้งสิ้นเท่ากับ 135 ล้านบาทต่อปี เมื่อพิจารณาจากผลผลิต ปลาเป็ดและมูลค่าบริเวณอ่าวไทยตอนล่างปี 2533
ปลาเป็ดมีราคาเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 2,667 บาท/ตัน หรือ 2.27 บาท/กก. จากผลผลิตปลาเป็ดทั้งหมดประเมินได้ว่าเป็นลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจอยู่ถึง 502 ตัน เมื่อขายเป็นปลาเป็ดจะได้มูลค่าเพียง1.34 ล้านบาทเท่านั้น ดั้งนั้นการประมงอวนรุนจึงก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละ 135 ล้านบาท

เว็บไซด์ http://www.wildlifefund.or.th/05_Problem/problem_01.html

ปะการังเทียมเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ

ปะการังเทียม






ปะการังเทียม มีชื่อเรียกเป็นทางการในภาษาอังกฤษว่า อิมมิเตชั่น รีฟ (Imitation Reef) ความหมายของมันก็คือ กองหินเทียมที่ใต้น้ำ เป็นการเลียนแบบ โขดหิน หรือหินกองใต้น้ำ ซึ่งนักตกปลาทางทะเลจะรู้จักกันดี แต่ในบ้านเราใช้คำว่า ปะการังเทียม กันจนคุ้นเคยเสียแล้ว ก็คงต้องเรียกเช่นนั้นตามไปด้วย โขดหิน หรือหินกองใต้น้ำ และแนวปะการัง เป็นแหล่งอาศัยของพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด ซึ่งเปรียบเสมือนที่อยู่อาศัยหากินของพวกมันนั่นเอง แต่สิ่งดังกล่าวนั้นไม่ได้มีอยู่ทั่วไปในท้องทะเล จึงมีการ สร้าง บ้านใหม่ให้พวกมันได้อยู่อาศัย เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในบริเวณที่ต้องการ มีสิ่งที่นักตกปลารู้กันดีอย่างหนึ่งก็คือ บริเวณที่เป็นซากเรือจม จะมีปลาอยู่ชุกชม จึงมีการเลียนแบบซากเรือจม โดยใช้วัสดุเหลือใช้ หรือไม่ได้ใช้แล้ว เช่น เรือ, รถไฟ, เครื่องบิน, รถยนต์, แท่งคอนกรีต และอีกหลายสิ่งหลายอย่าง นำไปทิ้งลงในบริเวณที่กำหนด เพื่อให้ปลาได้เข้ามาอยู่อาศัย แต่ในบางท้องถิ่นไม่ได้มีสิ่งของดังกล่าวเสมอไป จึงต้องหาวัสดุอื่นมาทดแทน เช่น ยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว เนื่องจากมีปริมาณเหลือใช้ค่อนข้างมาก จึงมีการนำมามัดรวมกันเป็นชุดๆ ชาวประมงท้องถิ่นสามารถทำได้เองในราคาที่ค่อนข้างถูก ส่วนทางภาครัฐ คือกรมประมง ก็มีโครงการทำปะการังทียม โดยการหล่อคอนกรีต เป็นก้อนสี่เหลี่ยมโปร่ง นำไปทิ้งตามจุดที่กำหนดในแต่ละครั้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งค่อนข้างได้ผลเช่นเดียวกับหินกองใต้น้ำตามธรรมชาติ







ปะการังเทียมเป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำโดยรวม มีสัตว์น้ำนานาชนิดอาศัยอยู่รวมกัน ทั้งกุ้ง,หอย, ปู และปลาหลายชนิดที่เป็นปลาประจำถิ่น เช่น กลุ่มปลากะพงหลายชนิด, ปลาเก๋า และปลาในแนวปะการังทั่วไป ถ้าจะพูดถึงกิจกรรมการตกปลากันแล้ว แนวปะการังเทียมนั้นตกปลาได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากปลาจะอาศัยอยู่ ตามซอกโพรงของกองหินเทียม ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญมากต่อสายเบ็ดตกปลา ประกอบกับในแนวปะการังเทียม มีปลาเกมที่นักตกปลาต้องการอยู่น้อยชนิด แต่ปะการังเทียมจะให้ประโยชน์กับ ชาวประมงพื้นบ้านในแนวน้ำตื้นค่อนข้างมาก ในด้านที่ช่วยเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ ในบริเวณที่มีปลาอาศัยอยู่น้อย หรือไม่เคยมีปลามาก่อน



เว็บไซด์ http://www.siamfishing.com/content/view.php?id=118&cat=article