Tuesday, January 30, 2007

การอนุรักษ์และฟื้นฟูวงจรชีวิตของปลาทู

ปลาทู ซึ่งมีวงจรชีวิตช่วงหนึ่งต้องอาศัยพื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งวางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม ของทุกปี

ปลาทูจะอพยพมาจากทางตอนบนของอ่าวไทย (จังหวัดจันทบุรี ตราด) มาวางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน บริเวณเกาะเต่า เกาะพงันและหมู่เกาะอ่างทองจังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วจากนั้นก็จะอพยพตามแนวชายฝั่งทะเลเพื่อกลับไปยังที่เดิม(ดังภาพที่ 1) และนอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาถึงเครื่องมือทำการประมงที่มีผลกระทบต่อปลาทู ซึ่งพบเครื่องมือทำการประมงที่มีผลกระทบมีอยู่ 5 ประเภท เมื่อศึกษาแล้วได้ข้อสรุปกรมประมงจึงเสนอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อออกเป็นประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูปลาที่มีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน ในท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายในระยะเวลาที่กำหนด ” ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

พื้นที่ห้ามทำการประมง
ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี

ระยะเวลาที่ห้ามทำการประมง
ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 พฤษภาคม ของทุกปี
เครื่องมือที่ห้ามทำการประมง
1. เครื่องมืออวนลากทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกล ยกเว้นอวนลากที่ใช้ประกอบกับเรือกลลำเดียวที่มีขนาด
ความยาวไม่เกิน 16 เมตร ให้ทำการประมงได้เฉพาะในเวลากลางคืน
2. เครื่องอวนติดตาที่ใช้ประกอบเรือกลทำการประมงด้วยวิธีล้อมติดปลาทูหรือด้วยวิธีอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน
3. เครื่องมืออวนล้อมจับทุกชนิด ที่ใช้ประกอบเรือกล
4. เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อนหรืออวนยก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำการประมงปลากะตัก
5. เครื่องมืออวนรุนที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 14 เมตรขึ้นไป
ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
จะเห็นว่าการประกาศ ฯ ดังกล่าว มิได้ครอบคลุมเครื่องมือทำการประมงทุกประเภท ทั้งนี้เพื่อให้ชาวประมงสามารถใช้เครื่องมือประเภทอื่นประกอบอาชีพได้ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด


เว็บไซด์ http://www.fisheries.go.th/marine/knowledge/Bay/Bay.html

No comments: