Monday, January 8, 2007

การอนุรักษ์พันธุ์ปลาพะยูน



พะยูน มีชื่อเรียกหลายชื่อไม่ว่าจะเป็น หมูน้ำ วัวทะเล หมูดุด และดูกอง แตกต่างกันออกไปตามถิ่น บางคนก็เรียกเจ้าสัตว์ชนิดนี้ว่า เงือก เชื่อว่าพะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกับช้าง แต่วิวัฒนาการอาศัยอยู่ในทะเล ปัจจุบันเหลือพบในประเทศไทยเพียงสกุลเดียว คือ ดูกอง( Dugong )
ส่วนมากอยู่เป็นฝูงตามชายฝั่งน้ำตื้นมากกว่าน้ำลึกและเป็นบริเวณที่คลื่นลมไม่แรง ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในการกินหญ้าทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนในช่วงน้ำขึ้น และหลบไปอาศัยในร่องน้ำในช่วงน้ำลง ถ้าในบริเวณที่อยู่อาศัยเกิดคลาดแคลนหญ้าทะเล พะยูนจะกินสาหร่ายแทนหรืออพยพไปหาหญ้าทะเลแหล่งใหม่
ในไทยมีพะยูนอยู่ทั้งสองฝั่งคือทั้งอ่าวไทยและอันดามัน แต่ก็มีจำนวนน้อยมาก
บริเวณทะเลระหว่างบ้านเจ้าไหม-เกาะลิบงเป็นที่อาศัยของพะยูน พะยูนปกติจะเป็นสัตว์รักสงบที่ใกล้สูญพันธู์ เลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยอยู่ในทะเล จัดเป็นสัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนมและกินพืชชนิดเดียวที่เหลืออยู่ ชอบอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลที่มีระดับน้ำค่อนข้างตื้น ประมาณ 1-12 เมตร
พะยูนหากินอยู่ตามแนวหญ้าทะเลที่มีความลึกประมาณ 1-3 เมตร และหลบหลีกศัตรูลงไปที่ความลึกราว 2-7 เมตร โดยเฉพาะที่มีน้ำทะเลขุ่น ปราศจากคลื่นลมรุนแรง เพราะเป็นการง่ายต่อการทรงตัวในน้ำขณะกินหญ้าทะเล พะยูนมีรูปร่างทรงกลมกระสวย ช่องท้องกว้าง ช่วงหัวสั้นเล็ก มีลักษณะพิเศษตรงที่หางเป็นแฉกและมีเขี้ยว หางแผ่แบนใหญ่แนวราบ ตาขนาดเล็ก การมองเห็นไม่ดีนัก แต่มีหูขนาดเล็กที่รับเสียงผ่านมาทางน้ำได้เป็นอย่างดี มีรูจมูกอยู่ตอนหน้าเปิดขึ้นด้านบน ผิวหนังของพะยูนหนามาก มีขนเป็นเส้นหยาบกระด้างกระจายอยู่ทั่วไป มีสีผิวเทาอมชมพู ขนาดของพะยูนมีความยาวตั้งแต่ 1-4 เมตร ลูกพะยูนเกิดใหม่มีความยาวเกือบ 1 เมตร และมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 60-100 กก.
ทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึงชุมชนท้องถิ่นต่างสนับสนุนการอนุรักษ์พะยูน สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นการติดเครื่องประมงโดยบังเอิญ ความเสื่อมโทรมของหญ้าทะเลที่เป็นแหล่งอาหาร สภาวะมลพิษต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุให้จำนวนพะยูนลดลงอย่างรวดเร็ว อัตราการตายของพะยูนสูงถึง 12 ตัวต่อปี คาดว่าปัจจุบันในประเทศไทยเหลืออยู่ไม่เกิน 200 ตัวและอาจสูญพันธุ์ในเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า
เขตน้ำลึกหน้าเกาะลิบงตลอดแนวด้านนี้ในวันที่น้ำเต็ม
สามารถออกไปเฝ้ามองดูพะยูน ชมแหล่งอาศัยของพะยูนได้ (แต่โอกาสที่จะพบตัวมีน้อยมากครับ)
ถ้าต้องการชมฝูงพะยูนให้ได้อย่างแน่นอนบางครั้งอาจต้อง
ใช้บริการเครื่องร่อน(ชั่วโมงละ 1500 บาท)ของอุทยานที่อยู่บริเวณหัวเกาะ






เวปไซด์ที่เกี่ยวข้อง http://www.trangalltour.com/tr-tour-dugong.htm

No comments: