ปลาทู ซึ่งมีวงจรชีวิตช่วงหนึ่งต้องอาศัยพื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งวางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม ของทุกปี
ปลาทูจะอพยพมาจากทางตอนบนของอ่าวไทย (จังหวัดจันทบุรี ตราด) มาวางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน บริเวณเกาะเต่า เกาะพงันและหมู่เกาะอ่างทองจังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วจากนั้นก็จะอพยพตามแนวชายฝั่งทะเลเพื่อกลับไปยังที่เดิม(ดังภาพที่ 1) และนอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาถึงเครื่องมือทำการประมงที่มีผลกระทบต่อปลาทู ซึ่งพบเครื่องมือทำการประมงที่มีผลกระทบมีอยู่ 5 ประเภท เมื่อศึกษาแล้วได้ข้อสรุปกรมประมงจึงเสนอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อออกเป็นประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูปลาที่มีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน ในท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายในระยะเวลาที่กำหนด ” ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
พื้นที่ห้ามทำการประมง
ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี
ระยะเวลาที่ห้ามทำการประมง
ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 พฤษภาคม ของทุกปี
เครื่องมือที่ห้ามทำการประมง
1. เครื่องมืออวนลากทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกล ยกเว้นอวนลากที่ใช้ประกอบกับเรือกลลำเดียวที่มีขนาด
ความยาวไม่เกิน 16 เมตร ให้ทำการประมงได้เฉพาะในเวลากลางคืน
2. เครื่องอวนติดตาที่ใช้ประกอบเรือกลทำการประมงด้วยวิธีล้อมติดปลาทูหรือด้วยวิธีอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน
3. เครื่องมืออวนล้อมจับทุกชนิด ที่ใช้ประกอบเรือกล
4. เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อนหรืออวนยก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำการประมงปลากะตัก
5. เครื่องมืออวนรุนที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 14 เมตรขึ้นไป
ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
จะเห็นว่าการประกาศ ฯ ดังกล่าว มิได้ครอบคลุมเครื่องมือทำการประมงทุกประเภท ทั้งนี้เพื่อให้ชาวประมงสามารถใช้เครื่องมือประเภทอื่นประกอบอาชีพได้ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
เว็บไซด์ http://www.fisheries.go.th/marine/knowledge/Bay/Bay.html
Tuesday, January 30, 2007
Tuesday, January 23, 2007
เครื่องมือทำประมงที่ทำลายพันธุ์สัตว์น้ำ
การประมงอวนรุน
การประมงอวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง พบว่าสัดส่วนลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจและปลาเป็ดแท้ จากการทำประมงอวนรุน มีความแตกต่างกันมากระหว่างอวนรุนใหญ่และอวนรุนเล็กมีค่าเท่ากับ 58:42 และ 70:30 ตามลำดับ เมื่อเฉลี่ยสัดส่วนของอวนรุนทั้ง 2 ประเภทมีค่าเท่ากับ 60 40จากสัดส่วนดังกล่าวนี้นำมาประเมินหาปริมาณ ลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่ปะปนอยู่ในปลาเป็ด โดยน้ำหนักของอวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างที่นำขึ้นมาใช้ประโยชน์ทั้งสิ้น 836 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2.23 ล้านบาท (สถิติกรมประมง , 2533) คิดเฉลี่ยโดยน้ำหนักเป็น ลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ปะปนอยู่ในปลาเป็ดทั้งสิ้น 502 ตัน
จะเห็นว่าในปีหนึ่งๆ อวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทำลายลูกสัตว์น้ำที่ถูกจับขึ้นมาก่อนวัยอันเหมาะสมคิดเป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งนี้เพราะอวนรุนมักจะทำการ ประมงบริเวณใกล้ฝั่งหรือกล่าวได้ว่าอยู่ในเขต 3,000 เมตรทั้งสิ้น ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน ยกเว้นการทำประมงอวนรุนใหญ่ในบางฤดูการเท่านั้น นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำเสื่อมโทรมลง ซึ่งในการจัดการประมง นับว่าเป็นการใช้ ทรัพยากรไปอย่างขาดประสิทธิภาพ กล่าวคือ แทนที่จะปล่อยให้สัตว์น้ำที่ยังเติบโตไม่ได้ขนาดนั้น เจริญเติบโตไป อีกระยะหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขนาดและมูลค่า และ ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า กับการนำเอาสัตว์ที่ยังมีขนาดเล็กมากมาใช้และขายในราคาต่ำรวมกับปลาเป็ด หากมีการชะลอการจับลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจเหล่านี้ให้โตขึ้นมาจนขนาดพอควร สัตว์น้ำต่างๆ จะมีโอกาสขยายพันธุ์ให้ลูกสัตว์น้ำไว้สืบต่อทดแทนสัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่ถูกจับไป ทรัพยากรก็จะไม่เสื่อมโทรมอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
จากการศึกษาดังกล่าว ได้รายงานให้เห็นความสูญเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประมงอวนรุน บริเวณอ่าวไทยตอนล่างในปี 2533 สามารถประเมินให้เห็นภาพรวมได้โดยคำนวณจากเรืออวนรุนที่ทำการประมงทั้ง 4 แหล่ง คือ บริเวณอ่าวปัตตานี,บริเวณนอกอ่าวปัตตานี,บริเวณทะเลสาบตอนนอกของทะเลสาบสงขลา,บริเวณอ่าวนครฯ จ.นครศรีธรรมราช จะประกอบด้วยอวนรุนใหญ่ประมาณ 80 ลำและอวนเล็กประมาณ 400 ลำ เรือดังกล่าวสามารถออกทำประมงได้เต็มที่ประมาณ 8 เดือนๆละ 20 วัน ฉะนั้นสามารถคำนวณความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งหมดจากการที่อวนรุนจับสัตว์น้ำขึ้นมาก่อนวัยอันเหมาะสม มีมูลค่าทั้งสิ้นเท่ากับ 135 ล้านบาทต่อปี เมื่อพิจารณาจากผลผลิต ปลาเป็ดและมูลค่าบริเวณอ่าวไทยตอนล่างปี 2533
ปลาเป็ดมีราคาเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 2,667 บาท/ตัน หรือ 2.27 บาท/กก. จากผลผลิตปลาเป็ดทั้งหมดประเมินได้ว่าเป็นลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจอยู่ถึง 502 ตัน เมื่อขายเป็นปลาเป็ดจะได้มูลค่าเพียง1.34 ล้านบาทเท่านั้น ดั้งนั้นการประมงอวนรุนจึงก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละ 135 ล้านบาท
เว็บไซด์ http://www.wildlifefund.or.th/05_Problem/problem_01.html
การประมงอวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง พบว่าสัดส่วนลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจและปลาเป็ดแท้ จากการทำประมงอวนรุน มีความแตกต่างกันมากระหว่างอวนรุนใหญ่และอวนรุนเล็กมีค่าเท่ากับ 58:42 และ 70:30 ตามลำดับ เมื่อเฉลี่ยสัดส่วนของอวนรุนทั้ง 2 ประเภทมีค่าเท่ากับ 60 40จากสัดส่วนดังกล่าวนี้นำมาประเมินหาปริมาณ ลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่ปะปนอยู่ในปลาเป็ด โดยน้ำหนักของอวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างที่นำขึ้นมาใช้ประโยชน์ทั้งสิ้น 836 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2.23 ล้านบาท (สถิติกรมประมง , 2533) คิดเฉลี่ยโดยน้ำหนักเป็น ลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ปะปนอยู่ในปลาเป็ดทั้งสิ้น 502 ตัน
จะเห็นว่าในปีหนึ่งๆ อวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทำลายลูกสัตว์น้ำที่ถูกจับขึ้นมาก่อนวัยอันเหมาะสมคิดเป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งนี้เพราะอวนรุนมักจะทำการ ประมงบริเวณใกล้ฝั่งหรือกล่าวได้ว่าอยู่ในเขต 3,000 เมตรทั้งสิ้น ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน ยกเว้นการทำประมงอวนรุนใหญ่ในบางฤดูการเท่านั้น นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำเสื่อมโทรมลง ซึ่งในการจัดการประมง นับว่าเป็นการใช้ ทรัพยากรไปอย่างขาดประสิทธิภาพ กล่าวคือ แทนที่จะปล่อยให้สัตว์น้ำที่ยังเติบโตไม่ได้ขนาดนั้น เจริญเติบโตไป อีกระยะหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขนาดและมูลค่า และ ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า กับการนำเอาสัตว์ที่ยังมีขนาดเล็กมากมาใช้และขายในราคาต่ำรวมกับปลาเป็ด หากมีการชะลอการจับลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจเหล่านี้ให้โตขึ้นมาจนขนาดพอควร สัตว์น้ำต่างๆ จะมีโอกาสขยายพันธุ์ให้ลูกสัตว์น้ำไว้สืบต่อทดแทนสัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่ถูกจับไป ทรัพยากรก็จะไม่เสื่อมโทรมอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
จากการศึกษาดังกล่าว ได้รายงานให้เห็นความสูญเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประมงอวนรุน บริเวณอ่าวไทยตอนล่างในปี 2533 สามารถประเมินให้เห็นภาพรวมได้โดยคำนวณจากเรืออวนรุนที่ทำการประมงทั้ง 4 แหล่ง คือ บริเวณอ่าวปัตตานี,บริเวณนอกอ่าวปัตตานี,บริเวณทะเลสาบตอนนอกของทะเลสาบสงขลา,บริเวณอ่าวนครฯ จ.นครศรีธรรมราช จะประกอบด้วยอวนรุนใหญ่ประมาณ 80 ลำและอวนเล็กประมาณ 400 ลำ เรือดังกล่าวสามารถออกทำประมงได้เต็มที่ประมาณ 8 เดือนๆละ 20 วัน ฉะนั้นสามารถคำนวณความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งหมดจากการที่อวนรุนจับสัตว์น้ำขึ้นมาก่อนวัยอันเหมาะสม มีมูลค่าทั้งสิ้นเท่ากับ 135 ล้านบาทต่อปี เมื่อพิจารณาจากผลผลิต ปลาเป็ดและมูลค่าบริเวณอ่าวไทยตอนล่างปี 2533
ปลาเป็ดมีราคาเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 2,667 บาท/ตัน หรือ 2.27 บาท/กก. จากผลผลิตปลาเป็ดทั้งหมดประเมินได้ว่าเป็นลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจอยู่ถึง 502 ตัน เมื่อขายเป็นปลาเป็ดจะได้มูลค่าเพียง1.34 ล้านบาทเท่านั้น ดั้งนั้นการประมงอวนรุนจึงก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละ 135 ล้านบาท
เว็บไซด์ http://www.wildlifefund.or.th/05_Problem/problem_01.html
ปะการังเทียมเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ
ปะการังเทียม
ปะการังเทียม มีชื่อเรียกเป็นทางการในภาษาอังกฤษว่า อิมมิเตชั่น รีฟ (Imitation Reef) ความหมายของมันก็คือ กองหินเทียมที่ใต้น้ำ เป็นการเลียนแบบ โขดหิน หรือหินกองใต้น้ำ ซึ่งนักตกปลาทางทะเลจะรู้จักกันดี แต่ในบ้านเราใช้คำว่า ปะการังเทียม กันจนคุ้นเคยเสียแล้ว ก็คงต้องเรียกเช่นนั้นตามไปด้วย โขดหิน หรือหินกองใต้น้ำ และแนวปะการัง เป็นแหล่งอาศัยของพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด ซึ่งเปรียบเสมือนที่อยู่อาศัยหากินของพวกมันนั่นเอง แต่สิ่งดังกล่าวนั้นไม่ได้มีอยู่ทั่วไปในท้องทะเล จึงมีการ สร้าง บ้านใหม่ให้พวกมันได้อยู่อาศัย เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในบริเวณที่ต้องการ มีสิ่งที่นักตกปลารู้กันดีอย่างหนึ่งก็คือ บริเวณที่เป็นซากเรือจม จะมีปลาอยู่ชุกชม จึงมีการเลียนแบบซากเรือจม โดยใช้วัสดุเหลือใช้ หรือไม่ได้ใช้แล้ว เช่น เรือ, รถไฟ, เครื่องบิน, รถยนต์, แท่งคอนกรีต และอีกหลายสิ่งหลายอย่าง นำไปทิ้งลงในบริเวณที่กำหนด เพื่อให้ปลาได้เข้ามาอยู่อาศัย แต่ในบางท้องถิ่นไม่ได้มีสิ่งของดังกล่าวเสมอไป จึงต้องหาวัสดุอื่นมาทดแทน เช่น ยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว เนื่องจากมีปริมาณเหลือใช้ค่อนข้างมาก จึงมีการนำมามัดรวมกันเป็นชุดๆ ชาวประมงท้องถิ่นสามารถทำได้เองในราคาที่ค่อนข้างถูก ส่วนทางภาครัฐ คือกรมประมง ก็มีโครงการทำปะการังทียม โดยการหล่อคอนกรีต เป็นก้อนสี่เหลี่ยมโปร่ง นำไปทิ้งตามจุดที่กำหนดในแต่ละครั้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งค่อนข้างได้ผลเช่นเดียวกับหินกองใต้น้ำตามธรรมชาติ
ปะการังเทียมเป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำโดยรวม มีสัตว์น้ำนานาชนิดอาศัยอยู่รวมกัน ทั้งกุ้ง,หอย, ปู และปลาหลายชนิดที่เป็นปลาประจำถิ่น เช่น กลุ่มปลากะพงหลายชนิด, ปลาเก๋า และปลาในแนวปะการังทั่วไป ถ้าจะพูดถึงกิจกรรมการตกปลากันแล้ว แนวปะการังเทียมนั้นตกปลาได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากปลาจะอาศัยอยู่ ตามซอกโพรงของกองหินเทียม ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญมากต่อสายเบ็ดตกปลา ประกอบกับในแนวปะการังเทียม มีปลาเกมที่นักตกปลาต้องการอยู่น้อยชนิด แต่ปะการังเทียมจะให้ประโยชน์กับ ชาวประมงพื้นบ้านในแนวน้ำตื้นค่อนข้างมาก ในด้านที่ช่วยเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ ในบริเวณที่มีปลาอาศัยอยู่น้อย หรือไม่เคยมีปลามาก่อน
เว็บไซด์ http://www.siamfishing.com/content/view.php?id=118&cat=article
ปะการังเทียม มีชื่อเรียกเป็นทางการในภาษาอังกฤษว่า อิมมิเตชั่น รีฟ (Imitation Reef) ความหมายของมันก็คือ กองหินเทียมที่ใต้น้ำ เป็นการเลียนแบบ โขดหิน หรือหินกองใต้น้ำ ซึ่งนักตกปลาทางทะเลจะรู้จักกันดี แต่ในบ้านเราใช้คำว่า ปะการังเทียม กันจนคุ้นเคยเสียแล้ว ก็คงต้องเรียกเช่นนั้นตามไปด้วย โขดหิน หรือหินกองใต้น้ำ และแนวปะการัง เป็นแหล่งอาศัยของพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด ซึ่งเปรียบเสมือนที่อยู่อาศัยหากินของพวกมันนั่นเอง แต่สิ่งดังกล่าวนั้นไม่ได้มีอยู่ทั่วไปในท้องทะเล จึงมีการ สร้าง บ้านใหม่ให้พวกมันได้อยู่อาศัย เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในบริเวณที่ต้องการ มีสิ่งที่นักตกปลารู้กันดีอย่างหนึ่งก็คือ บริเวณที่เป็นซากเรือจม จะมีปลาอยู่ชุกชม จึงมีการเลียนแบบซากเรือจม โดยใช้วัสดุเหลือใช้ หรือไม่ได้ใช้แล้ว เช่น เรือ, รถไฟ, เครื่องบิน, รถยนต์, แท่งคอนกรีต และอีกหลายสิ่งหลายอย่าง นำไปทิ้งลงในบริเวณที่กำหนด เพื่อให้ปลาได้เข้ามาอยู่อาศัย แต่ในบางท้องถิ่นไม่ได้มีสิ่งของดังกล่าวเสมอไป จึงต้องหาวัสดุอื่นมาทดแทน เช่น ยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว เนื่องจากมีปริมาณเหลือใช้ค่อนข้างมาก จึงมีการนำมามัดรวมกันเป็นชุดๆ ชาวประมงท้องถิ่นสามารถทำได้เองในราคาที่ค่อนข้างถูก ส่วนทางภาครัฐ คือกรมประมง ก็มีโครงการทำปะการังทียม โดยการหล่อคอนกรีต เป็นก้อนสี่เหลี่ยมโปร่ง นำไปทิ้งตามจุดที่กำหนดในแต่ละครั้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งค่อนข้างได้ผลเช่นเดียวกับหินกองใต้น้ำตามธรรมชาติ
ปะการังเทียมเป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำโดยรวม มีสัตว์น้ำนานาชนิดอาศัยอยู่รวมกัน ทั้งกุ้ง,หอย, ปู และปลาหลายชนิดที่เป็นปลาประจำถิ่น เช่น กลุ่มปลากะพงหลายชนิด, ปลาเก๋า และปลาในแนวปะการังทั่วไป ถ้าจะพูดถึงกิจกรรมการตกปลากันแล้ว แนวปะการังเทียมนั้นตกปลาได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากปลาจะอาศัยอยู่ ตามซอกโพรงของกองหินเทียม ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญมากต่อสายเบ็ดตกปลา ประกอบกับในแนวปะการังเทียม มีปลาเกมที่นักตกปลาต้องการอยู่น้อยชนิด แต่ปะการังเทียมจะให้ประโยชน์กับ ชาวประมงพื้นบ้านในแนวน้ำตื้นค่อนข้างมาก ในด้านที่ช่วยเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ ในบริเวณที่มีปลาอาศัยอยู่น้อย หรือไม่เคยมีปลามาก่อน
เว็บไซด์ http://www.siamfishing.com/content/view.php?id=118&cat=article
การป้องกันและแก้ไขมลพิษทางทะเล
การป้องกันและแก้ไขมลพิษทางทะเล
1. การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล
เพื่อทราบสถานการณ์ของคุณภาพน้ำทะเล และสถานการณ์ของมลพิษทางทะเลที่มีการเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง โดยเฉพาะบริเวณที่มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรม และจัดทำมาตรการการจัดการมลพิษทางทะเล กรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการสำรวจคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งทะเลทั่วประเทศเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะบริเวณที่คุณภาพน้ำทะเลมีแนวโน้มเสื่อมโทรม จะมีการติดตามตรวจสอบหลายครั้งต่อปีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสถานการณ์เพื่อค้นหาแหล่งกำเนิดมลพิษและควบคุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย
2. กำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆ
กรมควบคุมมลพิษได้ประกาศมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษบริเวณชายฝั่งที่มีผลต่อคุณภาพน้ำทะเล เช่น มาตรฐานน้ำทิ้งชุมชน มาตรฐานน้ำทิ้งอุตสาหกรรม เพื่อควบคุมการพัฒนากิจกรรมบริเวณชายฝั่งที่มีอยู่อย่างเคร่งครัดและป้องกันไม่ให้ปล่อยสารมลพิษลงสู่ทะเลมากจนเกินไป จนก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางทะเลได้ โดยหากเจ้าของแหล่งกำเนิดมลพิษใดไม่ปฏิบัติตามจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
3. จัดทำแผนปฏิบัติการฟื้นฟูคุณภาพแหล่งน้ำและน้ำทะเลชายฝั่ง
ในการป้องกันและแก้ไขความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในบริเวณตอนล่างของแม่น้ำหรือบริเวณชายฝั่ง กรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการศึกษาโครงการการจัดการคุณภาพน้ำและจัดทำแผนปฏิบัติการในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคตะวันออก และลุ่มน้ำภาคใต้ และโครงการจัดการคุณภาพน้ำและจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการมลพิษทางน้ำในเขตชุมชน และกิจกรรมจากชุมชน ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำบริเวณตอนล่างของแม่น้ำและชายฝั่งทะเล โครงการดังกล่าว จะช่วยในการพิจารณาจัดทำแผนการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนพร้อมทั้งเสนอมาตรการต่างๆ ในการลดปริมาณมลพิษแหล่งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
4. พัฒนาเทคโนโลยีในการลดมลพิษทางทะเล
กรมควบคุมมลพิษ ได้พัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ที่ใช้คาดการณ์แนวทางการเคลื่อนตัวของคราบน้ำมันในทะเล ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการขจัดคราบน้ำมัน และระบบประเมินความเสี่ยงการเกิดคราบน้ำมันในทะเล เพื่อใช้เป็นแนวในการเลือกเทคนิคขจัดคราบน้ำมันที่มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดระหว่างที่เกิดขึ้นน้ำมันรั่วไหลในทะเล
5. จัดทำแผนการจัดการ แนวทาง และมาตรการการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่หน่วยงานต่างๆ ในชุมชน ท้องถิ่นและเขตควบคุมมลพิษ เช่น เขตควบคุมมลพิษจังหวัดภูเก็ต นอกจากนี้กรมควบคุมมลพิษจะทำการสำรวจข้อมูลด้นการจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของชุมชน เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศ และพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียจากมูลฝอยแบบประหยัดพื้นที่และค่าใช้จ่าย
6. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ และจิตสำนึกด้านอนุรักษ์ แก่ประชาชน
โดยทางภาครัฐและเอกชนได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ และกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรทางทะเล และให้ความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเล สำหรับกรมควบคุมมลพิษได้จัดทำรายงานคุณภาพน้ำชายฝั่งทะเล และเอกสารเผยแพร่ความรู้ด้านการจัดการมลพิษทางทะเล
7. แผนปฏิบัติการฉุกเฉินเพื่อป้องกันและแก้ไขมลพิษทางทะเล
ได้จัดทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน ในการขจัดคราบน้ำมันสำหรับกรมควบคุมมลพิษ เพื่อจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานและโครงสร้างของการปฏิบัติการต่างๆ ในการรับแจ้งข่าวการเกิดคราบน้ำมันในทะเลขั้นต้น ตลอดจนการทำความสะอาดคราบน้ำมัน แผนการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมจากการเกิดคราบน้ำมัน ไปจนถึงการทำการฟ้องร้องค่าเสียหายต่างๆ เพื่อป้องกันและรักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากน้ำมันรั่วไหล
เว็บไซด์ที่เกี่วยข้อง http://www.pcd.go.th/info_serv/water_marine.html#s4
1. การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล
เพื่อทราบสถานการณ์ของคุณภาพน้ำทะเล และสถานการณ์ของมลพิษทางทะเลที่มีการเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง โดยเฉพาะบริเวณที่มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรม และจัดทำมาตรการการจัดการมลพิษทางทะเล กรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการสำรวจคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งทะเลทั่วประเทศเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะบริเวณที่คุณภาพน้ำทะเลมีแนวโน้มเสื่อมโทรม จะมีการติดตามตรวจสอบหลายครั้งต่อปีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสถานการณ์เพื่อค้นหาแหล่งกำเนิดมลพิษและควบคุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย
2. กำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆ
กรมควบคุมมลพิษได้ประกาศมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษบริเวณชายฝั่งที่มีผลต่อคุณภาพน้ำทะเล เช่น มาตรฐานน้ำทิ้งชุมชน มาตรฐานน้ำทิ้งอุตสาหกรรม เพื่อควบคุมการพัฒนากิจกรรมบริเวณชายฝั่งที่มีอยู่อย่างเคร่งครัดและป้องกันไม่ให้ปล่อยสารมลพิษลงสู่ทะเลมากจนเกินไป จนก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางทะเลได้ โดยหากเจ้าของแหล่งกำเนิดมลพิษใดไม่ปฏิบัติตามจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
3. จัดทำแผนปฏิบัติการฟื้นฟูคุณภาพแหล่งน้ำและน้ำทะเลชายฝั่ง
ในการป้องกันและแก้ไขความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในบริเวณตอนล่างของแม่น้ำหรือบริเวณชายฝั่ง กรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการศึกษาโครงการการจัดการคุณภาพน้ำและจัดทำแผนปฏิบัติการในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคตะวันออก และลุ่มน้ำภาคใต้ และโครงการจัดการคุณภาพน้ำและจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการมลพิษทางน้ำในเขตชุมชน และกิจกรรมจากชุมชน ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำบริเวณตอนล่างของแม่น้ำและชายฝั่งทะเล โครงการดังกล่าว จะช่วยในการพิจารณาจัดทำแผนการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนพร้อมทั้งเสนอมาตรการต่างๆ ในการลดปริมาณมลพิษแหล่งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
4. พัฒนาเทคโนโลยีในการลดมลพิษทางทะเล
กรมควบคุมมลพิษ ได้พัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ที่ใช้คาดการณ์แนวทางการเคลื่อนตัวของคราบน้ำมันในทะเล ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการขจัดคราบน้ำมัน และระบบประเมินความเสี่ยงการเกิดคราบน้ำมันในทะเล เพื่อใช้เป็นแนวในการเลือกเทคนิคขจัดคราบน้ำมันที่มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดระหว่างที่เกิดขึ้นน้ำมันรั่วไหลในทะเล
5. จัดทำแผนการจัดการ แนวทาง และมาตรการการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่หน่วยงานต่างๆ ในชุมชน ท้องถิ่นและเขตควบคุมมลพิษ เช่น เขตควบคุมมลพิษจังหวัดภูเก็ต นอกจากนี้กรมควบคุมมลพิษจะทำการสำรวจข้อมูลด้นการจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของชุมชน เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศ และพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียจากมูลฝอยแบบประหยัดพื้นที่และค่าใช้จ่าย
6. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ และจิตสำนึกด้านอนุรักษ์ แก่ประชาชน
โดยทางภาครัฐและเอกชนได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ และกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรทางทะเล และให้ความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเล สำหรับกรมควบคุมมลพิษได้จัดทำรายงานคุณภาพน้ำชายฝั่งทะเล และเอกสารเผยแพร่ความรู้ด้านการจัดการมลพิษทางทะเล
7. แผนปฏิบัติการฉุกเฉินเพื่อป้องกันและแก้ไขมลพิษทางทะเล
ได้จัดทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน ในการขจัดคราบน้ำมันสำหรับกรมควบคุมมลพิษ เพื่อจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานและโครงสร้างของการปฏิบัติการต่างๆ ในการรับแจ้งข่าวการเกิดคราบน้ำมันในทะเลขั้นต้น ตลอดจนการทำความสะอาดคราบน้ำมัน แผนการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมจากการเกิดคราบน้ำมัน ไปจนถึงการทำการฟ้องร้องค่าเสียหายต่างๆ เพื่อป้องกันและรักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากน้ำมันรั่วไหล
เว็บไซด์ที่เกี่วยข้อง http://www.pcd.go.th/info_serv/water_marine.html#s4
Sunday, January 14, 2007
การอนุรักษ์สัตว์น้ำในป่าชายเลย
สัตว์ในป่าชายเลน
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลน นอกจากสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา และสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น นก สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และแมลงแล้วในป่าชายเลนยังพบตัวแทนของสัตว์เกือบทุกตระกูล ตั้งแต่สัตว์ที่มีขนาดเล็ก เช่น โปรโตซัว หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน และพวกไส้เดือนทะเล สัตว์พวกนี้จะมีหลายชนิด และดำรงชีวิตหลายแบบ กล่าวคือ บางชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้ และจับสัตว์อื่นเป็นอาหาร บางชนิดสามารถฝังตัวอยู่กับที่ และกรองอาหารจากน้ำ และบางชนิดฝังตัวอยู่กับที่ มีหนวดหรือรยางค์ออกกวาดอินทรีย์สารกินเป็นอาหาร
ปลาที่พบในป่าชายเลน
ปลาชนิดต่างๆ ที่อาศัยในป่าชายเลนมีหลายชนิด ปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและพบมาก ได้แก่ ปลานวลจันทร์ทะเล และปลากะพงขาว ชนิดและความชุกชุมของปลาจะแตกต่างตามฤดูกาลวางไข่ กระแสน้ำ และระดับ ความเข้มข้นของน้ำทะเล อุณหภูมิ ชนิดและจำนวนของสัตว์กินปลา ปลาในป่าชายเลนสามารถแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม ใหญ่ๆ คือ ปลาที่อาศัยอยู่เป็นประจำ ปลาที่อาศัยอยู่ชั่วคราว ปลาที่มากับกระแสน้ำ และปลาที่พบในบางฤดูกาล
กุ้งที่พบในป่าชายเลน
กุ้งในป่าชายเลนหรือกุ้งที่อาศัยน้ำกร่อยมี ๑๕ ชนิด กุ้งที่สำคัญและมีค่าทางเศรษฐกิจสูง คือ กุ้งกุลาดำและกุ้งแชบ๊วย นอกจากนี้ ยังมีกุ้งอีกหลายชนิดที่ว่ายน้ำจากบริเวณน้ำจืด ไปวางไข่บริเวณน้ำกร่อยอีก และที่สำคัญ ได้แก่ กุ้งก้ามกราม และกุ้งน้ำจืด เป็นต้น
หอยที่พบในป่าชายเลน
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ในแถบนี้ในอดีตเคยมีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ แต่พื้นที่ป่าถูกเปลี่ยนแปลง เป็นการใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง ในปัจจุบันได้มีการปลูกฟื้นฟูขึ้นในหลายพื้นที่ ทำให้ป่าชายเลนบริเวณนี้ มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
ปูที่พบในป่าชายเลน
ปูที่พบในป่าชายเลนมีอยู่ประมาณ ๓๐ ชนิด ที่รู้จักกันดี คือ ปูแสมและปูก้ามดาบ ซึ่งปูทั้งสองชนิดนี้ มีสีสันต่างๆสวยงาม สำหรับปูที่นิยมรับประทานเป็นอาหาร และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ คือ ปูทะเล
สัตว์ชนิดอื่นที่พบในป่าชายเลน
ในบริเวณป่าชายเลน นอกจากสัตว์น้ำชนิดต่างๆ แล้วยังพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ค้างคาว ลิงแสม ลิงลม นาก หนูบ้าน เสือปลา แมวป่า หมูป่า และเก้ง สัตว์เหล่านี้จะเข้ามาในบริเวณป่าชายเลน เป็นบางเวลา เพื่อหาอาหาร นอกจากนี้ ยังมีนกหลายชนิด งูชนิดต่างๆ ตะกวด เต่า และจระเข้ กบทะเล
เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง http://www.dmcr.go.th/st03/forest3.html
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลน นอกจากสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา และสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น นก สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และแมลงแล้วในป่าชายเลนยังพบตัวแทนของสัตว์เกือบทุกตระกูล ตั้งแต่สัตว์ที่มีขนาดเล็ก เช่น โปรโตซัว หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน และพวกไส้เดือนทะเล สัตว์พวกนี้จะมีหลายชนิด และดำรงชีวิตหลายแบบ กล่าวคือ บางชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้ และจับสัตว์อื่นเป็นอาหาร บางชนิดสามารถฝังตัวอยู่กับที่ และกรองอาหารจากน้ำ และบางชนิดฝังตัวอยู่กับที่ มีหนวดหรือรยางค์ออกกวาดอินทรีย์สารกินเป็นอาหาร
ปลาที่พบในป่าชายเลน
ปลาชนิดต่างๆ ที่อาศัยในป่าชายเลนมีหลายชนิด ปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและพบมาก ได้แก่ ปลานวลจันทร์ทะเล และปลากะพงขาว ชนิดและความชุกชุมของปลาจะแตกต่างตามฤดูกาลวางไข่ กระแสน้ำ และระดับ ความเข้มข้นของน้ำทะเล อุณหภูมิ ชนิดและจำนวนของสัตว์กินปลา ปลาในป่าชายเลนสามารถแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม ใหญ่ๆ คือ ปลาที่อาศัยอยู่เป็นประจำ ปลาที่อาศัยอยู่ชั่วคราว ปลาที่มากับกระแสน้ำ และปลาที่พบในบางฤดูกาล
กุ้งที่พบในป่าชายเลน
กุ้งในป่าชายเลนหรือกุ้งที่อาศัยน้ำกร่อยมี ๑๕ ชนิด กุ้งที่สำคัญและมีค่าทางเศรษฐกิจสูง คือ กุ้งกุลาดำและกุ้งแชบ๊วย นอกจากนี้ ยังมีกุ้งอีกหลายชนิดที่ว่ายน้ำจากบริเวณน้ำจืด ไปวางไข่บริเวณน้ำกร่อยอีก และที่สำคัญ ได้แก่ กุ้งก้ามกราม และกุ้งน้ำจืด เป็นต้น
หอยที่พบในป่าชายเลน
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ในแถบนี้ในอดีตเคยมีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ แต่พื้นที่ป่าถูกเปลี่ยนแปลง เป็นการใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง ในปัจจุบันได้มีการปลูกฟื้นฟูขึ้นในหลายพื้นที่ ทำให้ป่าชายเลนบริเวณนี้ มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
ปูที่พบในป่าชายเลน
ปูที่พบในป่าชายเลนมีอยู่ประมาณ ๓๐ ชนิด ที่รู้จักกันดี คือ ปูแสมและปูก้ามดาบ ซึ่งปูทั้งสองชนิดนี้ มีสีสันต่างๆสวยงาม สำหรับปูที่นิยมรับประทานเป็นอาหาร และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ คือ ปูทะเล
สัตว์ชนิดอื่นที่พบในป่าชายเลน
ในบริเวณป่าชายเลน นอกจากสัตว์น้ำชนิดต่างๆ แล้วยังพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ค้างคาว ลิงแสม ลิงลม นาก หนูบ้าน เสือปลา แมวป่า หมูป่า และเก้ง สัตว์เหล่านี้จะเข้ามาในบริเวณป่าชายเลน เป็นบางเวลา เพื่อหาอาหาร นอกจากนี้ ยังมีนกหลายชนิด งูชนิดต่างๆ ตะกวด เต่า และจระเข้ กบทะเล
เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง http://www.dmcr.go.th/st03/forest3.html
Monday, January 8, 2007
การอนุรักษ์พันธุ์ปลาพะยูน
พะยูน มีชื่อเรียกหลายชื่อไม่ว่าจะเป็น หมูน้ำ วัวทะเล หมูดุด และดูกอง แตกต่างกันออกไปตามถิ่น บางคนก็เรียกเจ้าสัตว์ชนิดนี้ว่า เงือก เชื่อว่าพะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกับช้าง แต่วิวัฒนาการอาศัยอยู่ในทะเล ปัจจุบันเหลือพบในประเทศไทยเพียงสกุลเดียว คือ ดูกอง( Dugong )
ส่วนมากอยู่เป็นฝูงตามชายฝั่งน้ำตื้นมากกว่าน้ำลึกและเป็นบริเวณที่คลื่นลมไม่แรง ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในการกินหญ้าทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนในช่วงน้ำขึ้น และหลบไปอาศัยในร่องน้ำในช่วงน้ำลง ถ้าในบริเวณที่อยู่อาศัยเกิดคลาดแคลนหญ้าทะเล พะยูนจะกินสาหร่ายแทนหรืออพยพไปหาหญ้าทะเลแหล่งใหม่
ในไทยมีพะยูนอยู่ทั้งสองฝั่งคือทั้งอ่าวไทยและอันดามัน แต่ก็มีจำนวนน้อยมาก
บริเวณทะเลระหว่างบ้านเจ้าไหม-เกาะลิบงเป็นที่อาศัยของพะยูน พะยูนปกติจะเป็นสัตว์รักสงบที่ใกล้สูญพันธู์ เลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยอยู่ในทะเล จัดเป็นสัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนมและกินพืชชนิดเดียวที่เหลืออยู่ ชอบอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลที่มีระดับน้ำค่อนข้างตื้น ประมาณ 1-12 เมตร
พะยูนหากินอยู่ตามแนวหญ้าทะเลที่มีความลึกประมาณ 1-3 เมตร และหลบหลีกศัตรูลงไปที่ความลึกราว 2-7 เมตร โดยเฉพาะที่มีน้ำทะเลขุ่น ปราศจากคลื่นลมรุนแรง เพราะเป็นการง่ายต่อการทรงตัวในน้ำขณะกินหญ้าทะเล พะยูนมีรูปร่างทรงกลมกระสวย ช่องท้องกว้าง ช่วงหัวสั้นเล็ก มีลักษณะพิเศษตรงที่หางเป็นแฉกและมีเขี้ยว หางแผ่แบนใหญ่แนวราบ ตาขนาดเล็ก การมองเห็นไม่ดีนัก แต่มีหูขนาดเล็กที่รับเสียงผ่านมาทางน้ำได้เป็นอย่างดี มีรูจมูกอยู่ตอนหน้าเปิดขึ้นด้านบน ผิวหนังของพะยูนหนามาก มีขนเป็นเส้นหยาบกระด้างกระจายอยู่ทั่วไป มีสีผิวเทาอมชมพู ขนาดของพะยูนมีความยาวตั้งแต่ 1-4 เมตร ลูกพะยูนเกิดใหม่มีความยาวเกือบ 1 เมตร และมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 60-100 กก.
ทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึงชุมชนท้องถิ่นต่างสนับสนุนการอนุรักษ์พะยูน สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นการติดเครื่องประมงโดยบังเอิญ ความเสื่อมโทรมของหญ้าทะเลที่เป็นแหล่งอาหาร สภาวะมลพิษต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุให้จำนวนพะยูนลดลงอย่างรวดเร็ว อัตราการตายของพะยูนสูงถึง 12 ตัวต่อปี คาดว่าปัจจุบันในประเทศไทยเหลืออยู่ไม่เกิน 200 ตัวและอาจสูญพันธุ์ในเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า
เขตน้ำลึกหน้าเกาะลิบงตลอดแนวด้านนี้ในวันที่น้ำเต็ม
สามารถออกไปเฝ้ามองดูพะยูน ชมแหล่งอาศัยของพะยูนได้ (แต่โอกาสที่จะพบตัวมีน้อยมากครับ)
ถ้าต้องการชมฝูงพะยูนให้ได้อย่างแน่นอนบางครั้งอาจต้อง
ใช้บริการเครื่องร่อน(ชั่วโมงละ 1500 บาท)ของอุทยานที่อยู่บริเวณหัวเกาะ
เวปไซด์ที่เกี่ยวข้อง http://www.trangalltour.com/tr-tour-dugong.htm
Tuesday, January 2, 2007
การส่งเสริมการปลูกป่าชายเลน
การปลูกพันธุ์ไม้ป่าชายเลน ป่าชายเลนประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิด บางชนิดขยายพันธุ์โดยส่วนที่เรียกว่าฝักและบางชนิดขยายพันธ์โดยส่วนที่เป็นผลและเมล็ด โดยธรรมชาติ ฝัก ผล หรือเมล็ด ของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนทุกชนิด สามารถที่จะงอก และเจริญเติบโตได้เมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม แต่เมื่อต้องการที่จะปลูกในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ไม่ว่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อทางเศรษฐกิจหรือรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมก็ตาม จำเป็นต้องทำการเก็บรวบรวมฝัก ผล และเมล็ด เพื่อนำมาใช้ปลูกโดยตรง หรือมาเพาะในเรือเพาะชำเป็นกล้าไว้ก่อน เพื่อเตรียมไว้ปลูกในช่วงเวลาที่มีฝักหรือเมล็ดไม่เพียงพอ ซึ่งการปลูกเพื่อให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพได้ดีนั้น นอกจากจะต้องมีความรู้ในเรื่องธรรมชาติของไม้แต่ละชนิดและสภาพสิ่งแสดล้อมแล้ว ยังจำเป็นต้องเข้าใจวิธีการและเทคนิคในการปลูกและดูแลรักษาด้วย สำหรับวิธีการและเทคนิคนั้น จะแตกต่างไปตามลักษณะของพันธุ์ไม้แต่ละชนิด
วิธีการและเทคนิคการปลูก
1. การปลูกโดยใช้ฝัก พันธุ์ไม้ที่ใช้ฝักในการขยายพันธุ์ ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora- mucronata) โกงกางใบเล็ก (R. apiculata) รังกะแท้ (Kandelia candel) พังกา หัวสุมดอกแดง (Bruguiera gymnorrhiza) พังกาหัวสุมดอกขาว (B. sexangula) ถั่วขาว (B. cylindrica) ถั่วดำ (B. parviflora) โปรงแดง (Ceriopstagal) และโปรงขาว (C. decandra) เป็นต้น เทคนิคการปลูกโดยใช้ฝักปลูกดำเนินการได้ในสองกรณี คือ
1.1 การปลูกโดยใช้ฝักปลูกโดยตรง
1.1.1 สำหรับพันธุ์ไม้ที่มีขนาดของฝักยาว เช่น โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก รังกะแท้ และโปรงแดง สามารถใช้ฝักปลูกลงในพื้นที่ได้ทันที โดยในการปลูกควรจับฝักห่างจากโคนฝักประมาณหนึ่งในสามของความยาวของฝัก และให้ส่วนโคนของฝักอยู่ทางด้านนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ คือมีลักษณะเหมือนกำฝักไว้ในอุ้งมือ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปักฝักลงไปได้สะดวกและและอยู่ในแนวดิ่ง โดยเมื่อปลูกให้ปักฝักลงในดินจนนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ชิดผิวดิน (ภาพที่ 1a) ถ้าหากพื้นที่ที่ปลูกเป็นดินปนทรายและแน่นทึบ ควรใช้ไม้แหลมขนาดเท่าหรือโตกว่าฝักของชนิดไม้ที่จะปลูกเล็กน้อยแทงนำร่องก่อน เพื่อลดความกระทบกระเทือนของการเสียดสีระหว่างดินกับผิวของฝักที่ปลูก และเมื่อหย่อนฝักลงไปในหลุมที่เตรียมไว้แล้วให้กดดินบริเวณรอบโคนฝักให้แน่นแนบสนิทกับฝัก เพื่อไม่ให้โยกคลอนโดยเฉพาะจากอิทธิพลของแรงกระแสคลื่นและลม
1.1.2 สำหรับพันธุ์ไม้ที่มีฝักขนาดเล็กหรือสั้น เช่น พังกาหัวสุมดอกแดง พังกา หัวสุมดอกขาว ถั่วดำ ถั่วขาว และโปรงขาว การปลูกควรจับฝักห่างจากโคนฝักประมาณหนึ่งในสามลักษณะเหมือนจับปากกา (ภาพที่ 1b) ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการปลูก แล้วปักลงในดินไม่ให้ลึกนัก ประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของความยาวของฝักทั้งหมด การปลูกโดยใช้ฝักโดยตรงในพื้นที่จะช่วยในการลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและสะดวกในการปลูก แต่การที่ปลูกแล้วจะได้ผลดีจำเป็นจะต้องเลือกฝักที่มีอายุแก่เต็มที่และมีลักษณะสมบูรณ์ไม่ถูกทำลายโดยแมลง โดยเฉพาะมอดเจาะเมล็ดไม้จะเจาะฝักหรือเมล็ดมีขนาดเท่ารูเข็มหมุด เนื่องจากมีการเก็บฝักที่หล่นจากต้นมาเป็นเวลานาน หรือเก็บรักษาฝักไว้นานจนผิวแห้ง การป้องกันจึงควรเก็บรักษาฝักให้เปียกชื้นอยู่เสมอ จะช่วยในการป้องกันการทำลายของมอดเจาะชนิดนี้ได้ แต่ละฝักที่จะนำไปปลูกจะต้องคัดเลือกและตรวจสอบอย่างละเอียดเพื่อให้ได้ฝักที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง จึงจะทำให้การปลูกด้วยฝักได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ
วิธีการปลูกโดยใช้ฝักปักในพื้นที่ปลูกโดยตรง (a) กรณีฝักมีขนาดยาว (b)กรณีฝักมีขนาดสั้น
1.2 เทคนิคในการเพาะชำฝักลงในถุงเพาะชำ สามารถดำเนินการได้ดังนี้ จัดสร้างเรือนเพาะชำให้มีขนาดที่เหมาะสมกับปริมาณกล้าไม้ที่ต้องการใช้ในการ ปลูก และเผื่อไว้ปลูกซ่อมอีก 20% โดยใช้ตาข่ายพรางแสงประมาณ 50 – 70 % ขึงกับเสาไม้หรือเสาคอนกรีตที่ปักลงในดินจนแน่น แล้วนำถุงพลาสติกที่ใส่วัสดุเพาะชำ (อาจใช้ดินเลนผสมแกลบเผา อัตราส่วน 1:1) วางไว้เป็นบล็อกที่มีทางเดินทั้งสองข้างของบล็อก แล้วใช้ฝักปลูกลงในถุงเพาะชำ โดยปักลงไปประมาณหนึ่งในสาม หรือหนึ่งในสี่ของความยาวฝักได้ ตามแต่ขนาดของฝัก การจับฝักควรจับแบบจับปากกา (ภาพที่ 1b) จะสามารถช่วยให้ปลูกได้สะดวกกว่า กรณีทีเป็นฝักยาวก็จะต้องปรับให้แทงทะลุถุง และจะต้องให้ฝักตั้งตรงด้วย การนำฝักมาเพาะไว้ในเรือนเพาะชำก่อนจะนำไปปลูกในพื้นที่โดยตรงนั้น จะช่วยให้การเจริญเติบโตและการรอดตายมากขึ้น ข้อควรระวังในการใช้กล้าปลูกคือ อย่างให้รากทะลุก้นถุงลงในดิน เมื่อย้ายไปปลูกระบบรากจะกระทบกระเทือนอาจทำให้ตายได้ โดยเฉพาะไม้โกงกาง
2. การปลูกโดยใช้เมล็ด สามารถดำเนินการได้กับพันธุ์ไม้ที่ขยายพันธุ์โดยเมล็ด หรือ ผล เช่น ตะบูนขาว (Xylocarpus granatum) ตะบูนดำ (X.moluccensis) แสมขาว (Avicennia alba) แสมทะเล (A. marina) ฝาดดอกขาว (Lumnitzera racemosa) ฝาดดอกแดง (L.littorea) หงอนไก่ทะเล (Heritiera littoralis) และหลุมพอทะเล (Intsia bijuga) เป็นต้น แต่เนื่องจากเมล็ดของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน จะถูกพัดพาไปตามกระน้ำได้ง่าย ในทางปฏิบัติจึงไม่นิยมปลูกด้วยเมล็ดโดยตรงในพื้นที่ และที่ได้ผลดีที่สุดคือ ต้องนำเมล็ดไม้เหล่านี้มาทำการเพาะชำ เพื่อเตรียมกล้าไม้ไว้ให้แข็งแรงและเพียงพอก่อนนำไปปลูกโดยตรงในพื้นที่จึงจะทำให้การปลูกได้ผลดี โดยเทคนิคในการเพาะชำจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของเมล็ดแต่ละชนิด เช่น เมล็ดลำพู ลำแพนที่มีขนาดเล็ก ควรเพาะในกะบะเพาะก่อน แล้วย้ายต้นอ่อนลงในถุงเพาะชำ เมล็ดตะบูนขาวที่มีขนาดใหญ่สามารถเพาะลงในถุงเพาะชำโดยตรงได้ เป็นต้น
3. การปลูกโดยใช้กล้าไม้ที่ได้จากการเตรียมกล้าในแปลงเพาะ มีเทคนิคในการปลูกดังนี้
3.1 การเตรียมหลุมปลูก
หลุมที่จะปลูกต้องจัดเตรียมไว้โดยใช้เสียมขุด ให้มีขนาดโตและลึกกว่าขนาดของถุง เพาะเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อให้ฝังลงในดินได้มิดพอดี หรืออาจจะใช้ไม้หลักปักลึกลงในดินตรงจุดที่จะปลูก แล้วโยกไม้วนไปรอบๆ เป็นวงกลม (ภาพที่ 2a) เพื่อให้ได้หลุมกว้างพอที่จะหย่อนกล้าไม้ลงไปได้อย่างสะดวกและไม่กระทบกระเทือนต่อรากไม้ด้วย โดยก่อนที่จะหย่อนกล้าลงในหลุม ควรทำการปรับก้นหลุมให้อยู่ในระดับพอเหมาะกับขนาดถุงเพาะชำ
3.2 การปลูกและระยะการปลูก
ใช้มือทั้งสองบีบอัดดินในถุงเพาะชำให้เกาะยึดกันแล้วใช้มือฉีกหรือใช้มีดกรีดถุงออก ก่อนปลูก (ภาพที่ 2b) หรืออาจใช้มีดกรีดเฉพาะก้นถุงให้ขาดออกจากกันโดยรอบก็ได้ (ภาพที่ 2c) แล้วใช้มือประคองดินในถุงเพาะ (ภาพที่ 2d) แล้วหย่อนกล้าลงไปในถุงที่เตรียมไว้แล้ว (ภาพที่ 2e) โดยจัดวางกล้าไม้ให้ตั้งตรง แล้วสุดท้ายใช้ดินกลบปิดปากหลุมและกดอัดดินรอบๆ หลุมให้แน่น (ภาพที่ 2f) เพื่อไม่ให้กล้าไม้ที่ปลูกโยกคลอนจากแรงคลื่นและแรงลม สำหรับระยะการปลูกของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน ส่วนใหญ่จะใช้ระยะการปลูกประมาณ 1x1 เมตร หรือ 1.5 x 1.5 เมตร หรือน้อยกว่าซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ไม้ชนิดต่างๆ กัน และวัตถุประสงค์อย่างอื่นของการปลูกด้วย เช่นการปลูกเพื่อการเป็นกำแพงกันคลื่นลมตามชายฝั่งทะเล การปลูกเพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำอาจปลูกระยะถี่ 0.75 x 0.75 เมตรก็ได้
การดูแลรักษา
การดูแลรักษากล้าไม้ในเรือนเพาะชำและกล้าไม้ที่ปลูกในพื้นที่นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง และจะต้องตรวจตราดูแลอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากดินอาจจะแห้งเกินไปในช่วงฤดูแล้ง หรืออาจจะถูกทำลายโดยโรคและแมลงในกรณีกล้าไม้อยู่ในแปลงเพาะ ส่วนเมื่อนำไปปลูกในพื้นที่แล้วอาจจะถูกทำลายโดยแมลง ตัวหนอน ปูแสม เพรียงหินหรือลิง เป็นต้น และจะต้องกำจัดวัชพืชเพื่อลดการแก่งแย่งและเป็นการเร่งการเจริญเติบโตของกล้าไม้ในพื้นที่ปลูกด้วย
การปลุกโดยใช้กล้า (a)การเตรียมหลุมปลูก (b)เอาถุงเพาะชำออกทั้งหมด (c)เอาถุงเพาะชำออกเพาะก้นถุง (d)ใช้มือประคองไม่ให้ดินแตกกระจาย (e)ย่อนกล้าลงในหลุมปลูก (f)กลบดินรอบๆหลุมให้แน่น
การใช้ฝักไม้โกงกางปลูกโดยตรงในพื้นที่
ฝักไม้โกงกางที่เพาะในถุงเพาะชำก่อนนำไปปลูกในพื้นที่
เวปไซด์ที่เกี่ยวข้อง http://www.dmcr.go.th/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=2
วิธีการและเทคนิคการปลูก
1. การปลูกโดยใช้ฝัก พันธุ์ไม้ที่ใช้ฝักในการขยายพันธุ์ ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora- mucronata) โกงกางใบเล็ก (R. apiculata) รังกะแท้ (Kandelia candel) พังกา หัวสุมดอกแดง (Bruguiera gymnorrhiza) พังกาหัวสุมดอกขาว (B. sexangula) ถั่วขาว (B. cylindrica) ถั่วดำ (B. parviflora) โปรงแดง (Ceriopstagal) และโปรงขาว (C. decandra) เป็นต้น เทคนิคการปลูกโดยใช้ฝักปลูกดำเนินการได้ในสองกรณี คือ
1.1 การปลูกโดยใช้ฝักปลูกโดยตรง
1.1.1 สำหรับพันธุ์ไม้ที่มีขนาดของฝักยาว เช่น โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก รังกะแท้ และโปรงแดง สามารถใช้ฝักปลูกลงในพื้นที่ได้ทันที โดยในการปลูกควรจับฝักห่างจากโคนฝักประมาณหนึ่งในสามของความยาวของฝัก และให้ส่วนโคนของฝักอยู่ทางด้านนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ คือมีลักษณะเหมือนกำฝักไว้ในอุ้งมือ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปักฝักลงไปได้สะดวกและและอยู่ในแนวดิ่ง โดยเมื่อปลูกให้ปักฝักลงในดินจนนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ชิดผิวดิน (ภาพที่ 1a) ถ้าหากพื้นที่ที่ปลูกเป็นดินปนทรายและแน่นทึบ ควรใช้ไม้แหลมขนาดเท่าหรือโตกว่าฝักของชนิดไม้ที่จะปลูกเล็กน้อยแทงนำร่องก่อน เพื่อลดความกระทบกระเทือนของการเสียดสีระหว่างดินกับผิวของฝักที่ปลูก และเมื่อหย่อนฝักลงไปในหลุมที่เตรียมไว้แล้วให้กดดินบริเวณรอบโคนฝักให้แน่นแนบสนิทกับฝัก เพื่อไม่ให้โยกคลอนโดยเฉพาะจากอิทธิพลของแรงกระแสคลื่นและลม
1.1.2 สำหรับพันธุ์ไม้ที่มีฝักขนาดเล็กหรือสั้น เช่น พังกาหัวสุมดอกแดง พังกา หัวสุมดอกขาว ถั่วดำ ถั่วขาว และโปรงขาว การปลูกควรจับฝักห่างจากโคนฝักประมาณหนึ่งในสามลักษณะเหมือนจับปากกา (ภาพที่ 1b) ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการปลูก แล้วปักลงในดินไม่ให้ลึกนัก ประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของความยาวของฝักทั้งหมด การปลูกโดยใช้ฝักโดยตรงในพื้นที่จะช่วยในการลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและสะดวกในการปลูก แต่การที่ปลูกแล้วจะได้ผลดีจำเป็นจะต้องเลือกฝักที่มีอายุแก่เต็มที่และมีลักษณะสมบูรณ์ไม่ถูกทำลายโดยแมลง โดยเฉพาะมอดเจาะเมล็ดไม้จะเจาะฝักหรือเมล็ดมีขนาดเท่ารูเข็มหมุด เนื่องจากมีการเก็บฝักที่หล่นจากต้นมาเป็นเวลานาน หรือเก็บรักษาฝักไว้นานจนผิวแห้ง การป้องกันจึงควรเก็บรักษาฝักให้เปียกชื้นอยู่เสมอ จะช่วยในการป้องกันการทำลายของมอดเจาะชนิดนี้ได้ แต่ละฝักที่จะนำไปปลูกจะต้องคัดเลือกและตรวจสอบอย่างละเอียดเพื่อให้ได้ฝักที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง จึงจะทำให้การปลูกด้วยฝักได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ
วิธีการปลูกโดยใช้ฝักปักในพื้นที่ปลูกโดยตรง (a) กรณีฝักมีขนาดยาว (b)กรณีฝักมีขนาดสั้น
1.2 เทคนิคในการเพาะชำฝักลงในถุงเพาะชำ สามารถดำเนินการได้ดังนี้ จัดสร้างเรือนเพาะชำให้มีขนาดที่เหมาะสมกับปริมาณกล้าไม้ที่ต้องการใช้ในการ ปลูก และเผื่อไว้ปลูกซ่อมอีก 20% โดยใช้ตาข่ายพรางแสงประมาณ 50 – 70 % ขึงกับเสาไม้หรือเสาคอนกรีตที่ปักลงในดินจนแน่น แล้วนำถุงพลาสติกที่ใส่วัสดุเพาะชำ (อาจใช้ดินเลนผสมแกลบเผา อัตราส่วน 1:1) วางไว้เป็นบล็อกที่มีทางเดินทั้งสองข้างของบล็อก แล้วใช้ฝักปลูกลงในถุงเพาะชำ โดยปักลงไปประมาณหนึ่งในสาม หรือหนึ่งในสี่ของความยาวฝักได้ ตามแต่ขนาดของฝัก การจับฝักควรจับแบบจับปากกา (ภาพที่ 1b) จะสามารถช่วยให้ปลูกได้สะดวกกว่า กรณีทีเป็นฝักยาวก็จะต้องปรับให้แทงทะลุถุง และจะต้องให้ฝักตั้งตรงด้วย การนำฝักมาเพาะไว้ในเรือนเพาะชำก่อนจะนำไปปลูกในพื้นที่โดยตรงนั้น จะช่วยให้การเจริญเติบโตและการรอดตายมากขึ้น ข้อควรระวังในการใช้กล้าปลูกคือ อย่างให้รากทะลุก้นถุงลงในดิน เมื่อย้ายไปปลูกระบบรากจะกระทบกระเทือนอาจทำให้ตายได้ โดยเฉพาะไม้โกงกาง
2. การปลูกโดยใช้เมล็ด สามารถดำเนินการได้กับพันธุ์ไม้ที่ขยายพันธุ์โดยเมล็ด หรือ ผล เช่น ตะบูนขาว (Xylocarpus granatum) ตะบูนดำ (X.moluccensis) แสมขาว (Avicennia alba) แสมทะเล (A. marina) ฝาดดอกขาว (Lumnitzera racemosa) ฝาดดอกแดง (L.littorea) หงอนไก่ทะเล (Heritiera littoralis) และหลุมพอทะเล (Intsia bijuga) เป็นต้น แต่เนื่องจากเมล็ดของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน จะถูกพัดพาไปตามกระน้ำได้ง่าย ในทางปฏิบัติจึงไม่นิยมปลูกด้วยเมล็ดโดยตรงในพื้นที่ และที่ได้ผลดีที่สุดคือ ต้องนำเมล็ดไม้เหล่านี้มาทำการเพาะชำ เพื่อเตรียมกล้าไม้ไว้ให้แข็งแรงและเพียงพอก่อนนำไปปลูกโดยตรงในพื้นที่จึงจะทำให้การปลูกได้ผลดี โดยเทคนิคในการเพาะชำจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของเมล็ดแต่ละชนิด เช่น เมล็ดลำพู ลำแพนที่มีขนาดเล็ก ควรเพาะในกะบะเพาะก่อน แล้วย้ายต้นอ่อนลงในถุงเพาะชำ เมล็ดตะบูนขาวที่มีขนาดใหญ่สามารถเพาะลงในถุงเพาะชำโดยตรงได้ เป็นต้น
3. การปลูกโดยใช้กล้าไม้ที่ได้จากการเตรียมกล้าในแปลงเพาะ มีเทคนิคในการปลูกดังนี้
3.1 การเตรียมหลุมปลูก
หลุมที่จะปลูกต้องจัดเตรียมไว้โดยใช้เสียมขุด ให้มีขนาดโตและลึกกว่าขนาดของถุง เพาะเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อให้ฝังลงในดินได้มิดพอดี หรืออาจจะใช้ไม้หลักปักลึกลงในดินตรงจุดที่จะปลูก แล้วโยกไม้วนไปรอบๆ เป็นวงกลม (ภาพที่ 2a) เพื่อให้ได้หลุมกว้างพอที่จะหย่อนกล้าไม้ลงไปได้อย่างสะดวกและไม่กระทบกระเทือนต่อรากไม้ด้วย โดยก่อนที่จะหย่อนกล้าลงในหลุม ควรทำการปรับก้นหลุมให้อยู่ในระดับพอเหมาะกับขนาดถุงเพาะชำ
3.2 การปลูกและระยะการปลูก
ใช้มือทั้งสองบีบอัดดินในถุงเพาะชำให้เกาะยึดกันแล้วใช้มือฉีกหรือใช้มีดกรีดถุงออก ก่อนปลูก (ภาพที่ 2b) หรืออาจใช้มีดกรีดเฉพาะก้นถุงให้ขาดออกจากกันโดยรอบก็ได้ (ภาพที่ 2c) แล้วใช้มือประคองดินในถุงเพาะ (ภาพที่ 2d) แล้วหย่อนกล้าลงไปในถุงที่เตรียมไว้แล้ว (ภาพที่ 2e) โดยจัดวางกล้าไม้ให้ตั้งตรง แล้วสุดท้ายใช้ดินกลบปิดปากหลุมและกดอัดดินรอบๆ หลุมให้แน่น (ภาพที่ 2f) เพื่อไม่ให้กล้าไม้ที่ปลูกโยกคลอนจากแรงคลื่นและแรงลม สำหรับระยะการปลูกของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน ส่วนใหญ่จะใช้ระยะการปลูกประมาณ 1x1 เมตร หรือ 1.5 x 1.5 เมตร หรือน้อยกว่าซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ไม้ชนิดต่างๆ กัน และวัตถุประสงค์อย่างอื่นของการปลูกด้วย เช่นการปลูกเพื่อการเป็นกำแพงกันคลื่นลมตามชายฝั่งทะเล การปลูกเพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำอาจปลูกระยะถี่ 0.75 x 0.75 เมตรก็ได้
การดูแลรักษา
การดูแลรักษากล้าไม้ในเรือนเพาะชำและกล้าไม้ที่ปลูกในพื้นที่นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง และจะต้องตรวจตราดูแลอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากดินอาจจะแห้งเกินไปในช่วงฤดูแล้ง หรืออาจจะถูกทำลายโดยโรคและแมลงในกรณีกล้าไม้อยู่ในแปลงเพาะ ส่วนเมื่อนำไปปลูกในพื้นที่แล้วอาจจะถูกทำลายโดยแมลง ตัวหนอน ปูแสม เพรียงหินหรือลิง เป็นต้น และจะต้องกำจัดวัชพืชเพื่อลดการแก่งแย่งและเป็นการเร่งการเจริญเติบโตของกล้าไม้ในพื้นที่ปลูกด้วย
การปลุกโดยใช้กล้า (a)การเตรียมหลุมปลูก (b)เอาถุงเพาะชำออกทั้งหมด (c)เอาถุงเพาะชำออกเพาะก้นถุง (d)ใช้มือประคองไม่ให้ดินแตกกระจาย (e)ย่อนกล้าลงในหลุมปลูก (f)กลบดินรอบๆหลุมให้แน่น
การใช้ฝักไม้โกงกางปลูกโดยตรงในพื้นที่
ฝักไม้โกงกางที่เพาะในถุงเพาะชำก่อนนำไปปลูกในพื้นที่
เวปไซด์ที่เกี่ยวข้อง http://www.dmcr.go.th/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=2
Subscribe to:
Posts (Atom)